ทัศนคติ การรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของพระภิกษุสงฆ์ในเขตอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

Orawan Nammontri

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติ การรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของพระภิกษุสงฆ์ในเขตอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 168 รูป เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC; Index of Item Congruence) อยู่ในช่วง 0.67-1.00  สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคของแบบวัดเจตคติ การรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องมีค่าเท่ากับ 0.70 ขึ้นไป โดยอยู่ระหว่าง 0.72-0.80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 79.8   การรับรู้ ความสามารถตนเองในการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 85.7 และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 70.2  พระภิกษุเป็นกลุ่มประชากรที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ปฏิบัติภารกิจอยู่ในวัด การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพและบริการสุขภาพจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอาจจะยังน้อย (ประมาณ 18%) การจัดบริการเชิงรุกเพื่อส่งเสริมสุขภาพเช่น การสร้างเสริมทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากแก่พระภิกษุสงฆ์ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้นและการจัดบริการเชิงรุกเพื่อให้บริการทางทันตกรรมแก่พระภิกษุสงฆ์เป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาดำเนินการ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

1.ปํณณธร ชัชวรัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา.
รายงานการวิจัย. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา; 2553.
2. สำนักทันตสาธารณสุข. รายงานผลสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8. กรมอนามัย กระทรวง
สาธารณสุข. 2560.
3.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. พระสงฆ์ไทยฟันผุสูงและ 6 วิธีดูแล.
[ค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2561 จาก shorturl.at/bhyOS]; 2560
4.ศนิกานต์ ศรีมณี และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการ บริโภคของพระภิกษุสงฆ์และ
พฤติกรรมการถวายภัตตาหารของ ประชาชนในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2556.
5.มินตรา สาระรักษ์, วรารัตน์ สังวะลี,วิลาศ คำแพงศรี. ความชุกและปัจจัยสัมพันธ์ด้วยโรคเจ็บป่วยเรื้อรัง
ของพระภิกษุสงฆ์ อำเภอวารินชำราบ. จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มกราคม–เมษายน; 2560.
6.อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3 ภาควิชาชีวสถิติและ
ประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
7.ปิยะนาถ วงษ์ลาและอริสรา รุมรณกาจ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของ
ผู้สูงอายุ. รายงานการวิจัยของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ทันตสาธารณสุข). วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น; 2559.
8.Fishbein and Ajzen. Belief Attitude Intention and Behavior : An Introduction to theory and
Research. Mass : Addison-Wesley;1975.
9.Best J.W. Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.;1977.
10. Daniel W.W. Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York : Wiley &
Sons;1995.
11.Bandura A. Self-Efficacy : The Exercise of Control. New York : W.H.Freeman and company; 1977
12.ปิติณัช ราชภักดี, ภาวิณี ศรีสันต์, ทศพล ศีวรรณ,วนิดา ผันผ่อน,ขนิษฐา ชาลีกุล,ณัฐิดา สาชนะโสภณ.
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี.ว.การแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2561 ก.ย.-ธ.ค.; 26(3):199-207.
13.ศราวิณ ผาจันทร์ , เบญจา มุกตพันธุ์ . ภาวะโภชนาการและการบริโภคอาหารของพระภิกษุสงฆ์ในอำเภอ
เมือง จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2558;30 (6).
14.Kuramasuwan B, Howteerakul N, Suwannapong N, Rawdaree P. Diabetes, impaired fasting glucose,
life activities, food and beverage consumption among Buddhist monks in Chanthaburi province, Thailand. Int J Diabetes Dev Ctries 2013; 33 (1):23-8.