การพัฒนาคุณภาพการให้บริการแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลฟัน

ผู้แต่ง

  • Vallerut Pobkeeree Faculty of Public Health Mahidol University

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพ, คุณภาพการให้บริการ, ผู้ป่วยฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อพัฒนาปรับปรุงรูปแบบงานการให้บริการแฟ้มเวชระเบียนแก่ผู้ป่วยที่มาทำการรักษาแบบฉุกเฉินในโรงพยาบาลฟัน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการให้บริการยืมแฟ้มเวชระเบียนคนไข้ฉุกเฉิน และเพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างก่อนและหลัง การนำรูปแบบใหม่ที่ได้พัฒนาขึ้นไปใช้ในการทำงานจริง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมาจากแฟ้มเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มารับบริการแบบฉุกเฉิน และกลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานในโรงพยาบาลฟันที่เกี่ยวข้องกับการยืมแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยจำนวน 62 คน เครื่องมือที่นำมาใช้ได้แก่ แนวทางการให้บริการรูปแบบใหม่ที่ได้พัฒนาขึ้น โดยมีการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับการให้บริการสำหรับกลุ่มผู้รับบริการภายในโรงพยาบาลฟัน (เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงาน ทันตแพทย์ นักศึกษาทันตแพทย์) แบบสัมภาษณ์สำหรับกลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และผู้บริหาร ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน (paired t-test) ผลการวิจัยภายหลังการปรับปรุงการให้บริการพบว่าความพึงพอใจต่อการพัฒนาการให้บริการแฟ้มเวชระเบียนคนไข้ฉุกเฉินก่อนและหลังการพัฒนามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)

References

1. พรชัย ดีไพศาลสกุล ความคาดหวัง และการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการโรงพยาบาล Expectation and Perception of the clients about the service quality of the hospital. Veridian E-Journal, SU, 2013; 6 (1): 573-592.
2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, ส.ก.พ.ร. เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2558 Public Sector Management Quality Award. 2557. บริษัท วิชั่น พริ้นท์แอนด์มีเดีย จำกัด กรุงเทพฯ
3. แสงเทียน อยู่เถา การบริหารงานเวชระเบียน Medical record administration. 2557 นครปฐม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
4. Abdelhak M, Grostick S, Hanken M.A. Health Information - E-Book: Management of a Strategic Resource. 5th ed. Elsevier. 2016 St. Louis, Missouri
5. ชมพูนุท กิตติกุล รายงานการเบิกแฟ้ม MF_Borrow_month.rpt Emergency. In ส.ค.- ต.ค. 2560. กรุงเทพฯ: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาลทันตกรรม DT-HIS.
6. สมชาติ โตรักษา. หลักการบริหารโรงพยาบาล: ภาคที่ 1 หลักการบริหารองค์การและหน่วยงาน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ (2548). คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
7. Stokes P, Smith S.M., Moore N., Rowland C, Scott P. Organizational Management: Approaches and Solutions. 2016. Kegan Page Ltd. London.
8. Kim-Soon Ng. Quality Management and Practices. 2012. InTech. Shanghai.
9. สักรินทร์ ไกรษร ชาติชาย พณิชีพ การพัฒนารูปแบบการนิเทศ งานอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2015; 8(2): 132-146.
10. Bevins D.T. Herzberg's Two Factor Theory of Motivation: A Generational Study. 2018. Honors Theses. 530. Eastern Kentucky University.
11. Khanka SS. Human Resource Management : (Text and Cases). 5th ed. New Delhi: S. Chand & Company Ltd; 2013.
12. Kadri A.M. IAPSM’s Textbook of Community Medicine. 2019. Jaypee Brothers Medical Publishers Ltd, New Delhi.
13. กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชานูปถัมภ์. กรุงเทพฯ
14. โสภณ เมฆธน นโยบายและแนวทางการดำเนินงานแบบบูรณการ กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2559. กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)