การพัฒนาโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการป้องกันโรคฟันผุของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ กรณีศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดพุทธภูมิ) อำเภอเมืองจังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • kwanjit pongrattanamarn Sirindhorn College of Public Health Yala

คำสำคัญ:

โปรแกรมทันตสุขศึกษา, สุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมทันตสุขศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และประเมินการนำโปรแกรมทันตสุขศึกษาไปใช้ โดยศึกษากับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 3 คน ครูประจำห้องเด็กพิเศษและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) โปรแกรมทันตสุขศึกษา  2) แบบประเมินความพึงพอใจของครูและผู้เกี่ยวข้อง

3) แบบทดสอบความรู้ของนักเรียน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน  และ5) แบบบันทึกปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ สถิติที่ใช้ ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  Paired Sample t-test และ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า  โปรแกรมทันตสุขศึกษาฯ ประกอบด้วย   1. แผนการจัดกิจกรรม 2. แผนการสอนทันตสุขศึกษา 3. สื่อการสอน 4. วิธีการสอน 5. ระยะเวลาในการสอน และ 6. การประเมินผลการสอน   กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจต่อโปรแกรมในระดับมาก (4.46+ 0.61) นักเรียนมีความรู้ด้านทันตสุขภาพเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คะแนนเฉลี่ยความรู้ก่อนและหลังใช้โปรแกรม  เท่ากับ 10.67+1.15 และ 14.33+ 0.58 ตามลำดับ และมีค่าเฉลี่ยของปริมาณคราบจุลินทรีย์ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าเฉลี่ยของปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ก่อนและหลังใช้โปรแกรม   เท่ากับ 5.00+0.00 และ3.67 +0.44 ตามลำดับ สำหรับพฤติกรรมของนักเรียนมีความสนใจเนื้อหาไม่เกิน 45 นาที ทุก 10 นาที ต้องปรับเปลี่ยนวิธีสอน การสอนต้องเน้นย้ำข้อมูล และสอนซ้ำมากกว่า 1 รอบ  สื่อที่นักเรียนสนใจ ได้แก่ วีดีทัศน์ เกม และภาพพลิก

คำสำคัญ (keywords): โปรแกรมทันตสุขศึกษา, สุขภาพช่องปาก

References

1. จรีลักษณ์ จิรวิบูลย์. (2550). ช่วยเหลือและพัฒนาเด็กแอลดี. การเตรียมความพร้อมสำหรับ นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียน. กรงเทพมหานคร: สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
2. จินตนาสรายุทธพิทักษ์. (2541). การบริการสุขภาพในโรงเรียน,พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. จุฬามาศจันทร์ศรีสุคต. (2555). การตอบสนองต่อการสอนและการออกแบบที่เป็นสากลเพื่อ การเรียนรู้: การให้ความช่วยเหลือก่อนที่จะเกิดปัญหา.วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี,1(2),12-16.
4. ปนัดดา ปานะนิล. (2554). การใช้วิธีการสอนแบบตรงเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่าน ภาษาอังกฤษและแรงจูงใจของนักเรียนที่มีภาวะความบกพร่องทางการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
5. เปรมฤดี ศรีสังข์. (2550). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุ ผลรวมกับแรงสนับสนนุนทางสังคมต่อพฤตกรรมการป้องกันโรคฟันผุ ในนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง เทศบาลขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
6. มนันชยา กองเมืองปก. (2551). ผลของการจัดโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่มีผลต่อสุขภาพ
ช่องปากของนกเรียนประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย).
7. รวิฎา ทับทิมใส. (2552). ประสิทธิผลโปรแกรมสุขศึกษาในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่อง ปากของนักเรียนที่เป็นโรคเหงือกอักเสบ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกัน โรคร่วมกับทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤตกรรมในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหา บัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
8. รัตติยา ยอดวงศ์. (2556). ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตตำบลไม้ยาอำเภอ พญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยพะเยา).
9. วราภร คุปติศาสตร์. (2556). ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่มีผลต่อพฤติกรรมทันต สุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3โรงเรียนบ้านสำโรง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์.วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา, 8(2), 17-31.
10. วีรยุทธ พลท้าว. (2557). ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาร่วมกับการใช้สื่อประสมช่วยสอนเพื่อ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคฟันผุและ โรคเหงือกอักเสบในนักเรียนระดับ ประถมศึกษา อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู,วารสารทันตาภิบาล,25(2), 75-88.
11. เววิรี อิทธิอนันต์กุล. (2556). เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้(Children with Learning
Disabilities). บทความด้านจิตวิทยา, กรุงเทพมหานคร
12. ถาวร แสงอาไพ. (2554). การสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการพัฒนาชุมชนโดยสถานีวิทยุ อสมท FM 105.0MHz จ.กระบี่ลำปาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์)
13. สุวิภา อนันต์ธนสวัสดิ์. (2539). ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาต่อพฤติกรรมทันตสุขภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/กรุงเทพฯ.
14. สมชาย บุญสุน. (2554). ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
15. อรุณณีย์ ธงสวัสดิ์. (2550). ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนห้วยหว้า วิทยาคม ตำบลโนนฆ้อง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. (ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
16. Academic Unitof Dental Public Health. (2011).TheOral Health of Adults with LearningDisabilities, Available from:https://www.sheffield.ac.uk/polopoly_fs/1.119712!/file/The_oral_health_ of_adults_with_learning_disabilities_in_Sheffield_v6.pdf

17. Jenny Gallagherand Sasha Scambler.(2012).Disability and Oral Health, Available from:http://www.intechopen.com/books/learning-disabilities/disability-and-oral-health

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)