พฤติกรรมด้านทันตสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันแท้ผุในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
เด็กนักเรียน, พฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ, โรคฟันแท้ผุบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและความสัมพันธ์ด้านทันตสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคฟันแท้ผุในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ วิธีการวิจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Analysis Study) ในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 382 คน ซึ่งเป็นเด็กนักเรียนที่เข้ารับการศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอท่าคันโท ปีการศึกษา 2562 โดยเก็บข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน – 30 ธันวาคม 2562 ระยะเวลา 2 เดือน เลือกกลุ่มตัวอย่างจากเด็กนักเรียนทั้งหมดในพื้นที่ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ และแบบประเมินสุขภาพช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมานเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ด้วยสมการถดถอยพหุคูณลอจิสติก (Multiple Logistic Regression) เพื่ออธิบายค่า Adjusted Odd ratio (Adj.OR), ช่วงของค่าความเชื่อมั่น (95% of Confidence Interval; 95%CI) และ ค่า p-value
ผลวิจัย พบว่า เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีปัญหาโรคแท้ฟันผุ เท่ากับ ร้อยละ 63.61 (95%CI = 54.21 – 64.11) ค่าเฉลี่ยของโรคฟันผุ เท่ากับ 1.67 ซี่/คน และมีค่าเฉลี่ยของโรคฟันแท้ผุ ถอน อุด (DMFT) เท่ากับ 0.7 ซี่/คน ส่วนปัจจัยที่พบความสัมพันธ์ของการเกิดโรคฟันผุ คือ นักเรียนหญิง เท่ากับ 1.62 (Adj.OR = 1.62, 95%CI= 1.07 – 2.64, p-value=0.024) พฤติกรรมการไม่แปรงฟันก่อนนอน เท่ากับ 1.75 (Adj.OR = 1.75, 95%CI= 1.12 – 2.75, p-value=0.014), การเลือกใช้ขนแปรงที่มีลักษณะขนแปรงปานกลาง-แข็ง เท่ากับ 1.60 (Adj.OR = 1.60, 95%CI= 1.02 – 2.50, p-value=0.042)
สรุป การศึกษาครั้งนี้ พบว่า พฤติกรรมการแปรงฟันก่อนนอนมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันแท้ผุของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในพื้นที่ รวมทั้งปัจจัยของเพศหญิง ลักษณะของขนแปรงมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันแท้ผุของเด็กนักเรียนเช่นเดียวกัน ดังนั้น การศึกษาในครั้งนี้สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนการดำเนินงานเชิงนโยบาย พัฒนารูปแบบการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในพื้นที่ต่อไป
References
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานกิจการพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2561.
ลักขณา อุ้ยจิรากุล, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา, จันทนา อึ้งชูศักดิ์, มุขดา ศิริเทพทวี. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลี้ยงดูและโรคฟันผุในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดสระแก้ว. วิทยาสารทันตสาธารณสุข, 2556: 18(2), 23-32.
พรรณราย ทัพนันตกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิชาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข. การตรวจสุขภาพช่องปากในเด็ก 6-12 ปี โดยทันตบุคลากร. [ออนไลน์] 2562 [อ้างเมื่อ 4 พฤษภาคม 2562] . จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=e9fb648fe9f1858878714a410222eef1
Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med 1998;17:1623-34.
ศุภกร ศิริบุรี. ความสัมพันธ์ของปัจจัยกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากด้วย PRECEDE FRAMEWORK ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 2560: 11(3), 355-68.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1 ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา. 2547.
Zhang S., Chau AM., Lo ECM., and Chu CH. Dental caries and erosion status of 12-year-old Hong Kong children. BMC Public Health 14(1):1-7.
Youssefi MA., Afroughi S. Prevalence and Associated Factors of Dental Caries in Primary Schoolchildren: An Iranian Setting. Hindawi Int J of Dent, 2020. 1-7.
Obregon-Rodriguez N., Fernandez-Riveiro P., Pinairo-Lamas M., Smyth-Chamosa E., Montes-Martinez A., and Suarez-Cunqueiro MM. Prevalence and caries-related risk factors in schoolchildren of 12- and 15-year-old: a cross-sectional study. BMC Oral Health, 2019: 19(120), 1-11.
Smyth E., Caamano F. Factors related to dental health in 12-year-old children: a cross-sectional study in pupils. Gaceta Sanitaria, 2014: 19(2):113-9.
วราภร คุปติศาสตร์. สภาวะฟันผุและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับฟันผุของเด็กชาวไทยพื้นราบและไทย ภูเขา อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 2556: 9(2), 137-50.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล