ผลของการอ่านสื่อนิทานต่อพฤติกรรมการเลิกใช้ขวดนมของเด็กและทัศนคติของผู้ปกครอง ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
สื่อนิทาน พฤติกรรมการใช้ขวดนม การเลิกใช้ขวดนมบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการอ่านสื่อนิทานต่อพฤติกรรมการเลิกใช้ขวดนมของเด็กและทัศนคติของผู้ปกครองในการเลิกใช้ขวดนม ทำการศึกษาในเด็กอายุระหว่าง 2 ถึง 4 ปี จำนวน 74 คน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และผู้ปกครองที่เป็นผู้ดูแลหลัก โดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ก่อน และ หลัง ได้รับสื่อนิทานเรื่อง ซารีนาเลิกขวดนม ซึ่งพัฒนาโดยเจ้าหน้าที่กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลบางกรวย สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบทีแบบจับคู่ ผลการวิจัยพบว่า เด็กร้อยละ 50 สามารถเลิกขวดนมได้ และทัศนคติของผู้ดูแลมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้ดูแลของเด็กที่สามารถเลิกขวดนมได้มีทัศนคติที่ดีกว่าเด็กที่ยังดูดขวดนมอยู่
References
1. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ.2560 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2561.
2. ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล,บรรณาธิการ. ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น. กรุงเทพมหานตร : บริษัท เบสบุ๊คออนไลน์จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 4; 2554.หน้า 1-16.
3. สุภร ตันตินิรามัย. สาเหตุ การรักษาและการป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย (ECC). วารสารศูนย์การแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2559; 33( 2): 167-175.
4. Bray KK, Branson BG, Williams K. Early childhood caries in an urban health department: an exploratory study. J Dent Hyg 2003; 77(4): 225-32.
5. นัยนา ณีศะนันท์, สุธาทิพย์ เอมเปรมศิลป์, จริยา ทะรักษา, วินัดดา ปิยะศิลป์, วีระศักดิ์ ชลไชยะ.คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอน วัยเด็กเล็ก 0-3 ปี.กรุงเทพฯ : ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย; 2560.หน้า 53.
6. อุษา ยิ้มสุวรรณ.การสำรวจเทคนิคการเลิกขวดนมของเด็กอายุ 1 ½ - 3 ½ ปี ที่มารับบริการที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โครงการนำร่อง). หลักสูตรเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ของแพทยสภา: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ; 2552
7. เชิดชู อริยศรีวัฒนา.พ่อแม่ต้องรู้เพื่อดูแลลูกรัก.กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊ค ; 2548.หน้า 16-17.
8. Franco S,Theriot J,Greenwell A. The influence of early counselling on weaning from a bottle. J Community Dent Health 2008; 25(2): 115-8.
9. ปราณี ปริยวาที.การพัฒนาจริยธรรมของเด็กปฐมวัยโดยการเล่านิทานและการติดตามผล. [หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. กรุงเทพมหานคร, 2559.
10. ปิมปภา ร่วมสุข,ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์, นันทิยา ดวงภุมเมศ, ขนบพร วงศ์กาฬสินธุ์.การสร้างสื่อนิทานเพื่อพัฒนาพฤติกรรมคุณธรรมด้านความมีน้ำใจในเด็กปฐมวัย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา 2553; 18(1): 903-22.
11. Bandura A. Social Learning Theory. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice Hall, 1977.p. 247.
12. จารุณี ทรัพย์ประเสริฐ, ปิยะธิดา ขจรชัยกุล, พูนสุข ช่วยทอง, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์. ผลของการเสนอตัวแบบผ่านนิทานโดยใช้สื่ออุปกรณ์ที่มีต่อสุขนิสัยเด็กปฐมวัย.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2553; 18(1): 1-12.
13. บัณฑิต นิตย์คำหาญ,เจวลี ผ่องแผ่ว, อาภาภรณ์ พรมรักษา. ผลของนิทานต่อสุขภาพช่องปากเด็กเล็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กท่าลาดขาว ตำบลท่าลาดขาว อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา.วารสารทันตาภิบาล 2562; 30(2): 121-130.
14. จุฑามาศ มณีโชติ. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมทันตสุขภาพต่อพฤติกรรมการแปรงฟัน การเลิกขวดนมของผู้ดูแลเด็กและฟันผที่เพิ่มขึ้นของเด็กอายุ 9-18 เดือนในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์]. สงขลา. มหาวิทยาลัยสงขลา, 2559.
15. Suwansingha O, RirattanapongvP. Preschool children’s caregivers’ attitudes and behavior regarding botte feeding in Bangpakong, Chachoengsao. J Int Soc Prev Community Dent 2014; 4(2): 93-98.
16. ยุทธนา พินิจกิจ. ผลโปรแกรมทันตสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียนของผู้ปกครอง. วิทยสารทันตสาธารณสุข 2559; 21(2): 20-26.
17. จันธมาส ชะนะ. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลิกใช้ขวดนมเลี้ยงเด็กอายุ 2-4 ปีที่มาใช้บริการที่ห้องตรวจโรคกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา.[วิทยานิพนธ์]. นครราชสีมา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา,2554.
18. สมศักดิ์ ปริปุรณะ.นิทานสำหรับเด็ก.สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง; 2542.หน้า 47-68.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล