ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6, ความเครียด, การจัดการความเครียดบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียด การจัดการความเครียด และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 147 คน ที่คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเที่ยงได้ค่า อัลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่ามัธยฐาน และสถิติ Chi Square test
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.43 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 97.32 ผลการเรียนเฉลี่ย 3.51 (S.D.= 0.31) เป็นนักเรียนแผนการเรียนวิทย์-คณิต ร้อยละ 54.36 ครอบครัวมีความรักใคร่ช่วยเหลือกันดีหรือไม่มีความขัดแย้ง ร้อยละ 71.81 รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือนตั้งแต 10,000-30,000 บาท ร้อยละ 79.19 (มัธยฐานรายได้เท่ากับ15,000 ต่ำสุด, 3,000 บาท, สูงสุด 97,600 บาท) นักเรียนมีความเครียดอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 51.01 มีการจัดการความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 80.54 ความสัมพันธ์ในครอบครัวมีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.008) ส่วนเพศ โรคประจำตัว ผลการเรียน แผนการเรียน และรายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของนักเรียน (P-value=0.823, 0.909, 0.177, 0.066 และ 0.506 ตามลำดับ)
References
2. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือคลายเครียด ความรู้เรื่องความเครียด. ค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2561, จาก https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=672 . 2559.
3. สมิต อาชวนิจกุล. ยิ้มรับความเครียด. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ; ดอกหญ้า, 2547.
4. นีลนารา จิราพร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลตอความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 6 สังกัดกรม สามัญศึกษาเขตการศึกษา 9. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแกน, 2540.
5. อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์, 2556.
6. สุจิตรา อู่รัตนมณี และ สุภาวดี เลิศสำราญ. (ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าของนักเรียนวัยรุ่นที่เตรียมตัวสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย. วารสารพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2560) หน้า 78-94., 2560.
7. Pander, R and Verma, M.R. Samples Allocation in Different Strata for Impact Evaluation of Developmental Programme. Rev. Bras. Biom, São Paulo, v.26, n.4, p.103-112., 2008.
8. Best, J.W. Research in Education. 3rd ed. India, New Delhi : Prentice Hall, of Inc., 1978.
9. ณัฐพงษ์ ทีราช, ศราวุฒิ นาคำมูล, เบญญาภา ประกอบแสง และ กันยารัตน์ ชิราวุฒิ . ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2561 จาก http://www.journal.msu.ac.th/index.php?page=show_journal_article&j_id=5&article_id=1608, 2558.
10. สุนิสา ตะสัย, ประชา ฤชุตกุล และวีรัตน์ ธรรมาภรณ์. ความเครียดและการแก้ปัญหาความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเซตปัตตานี, 19 (2) หน้า 101-114., 2551.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล