ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการปวดคอ ไหล่ หลังของทันตบุคลากรในสถานบริการสุขภาพของรัฐ จังหวัดยะลา
คำสำคัญ:
การปวดกล้ามเนื้อ, การปวดคอ ไหล่ หลัง, ทันตบุคลากรบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) แบบภาคตัดขวาง (Cross - sectional Study) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะอาการ ความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการปวดคอ ไหล่ หลังของทันตบุคลากรที่ทำงานในสถานบริการสุขภาพของรัฐ จังหวัดยะลา จำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนสิงหาคม - เดือนกันยายน พ.ศ.2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi – square และ Fisher’s Exact Test
ผลการศึกษาพบว่า ทันตบุคลากรมีอาการปวดคอ ไหล่ หลัง จำนวน 136 คน คิดเป็นร้อยละ 96.46 ซึ่งตำแหน่งที่ปวดมากที่สุดคือ บริเวณคอ ร้อยละ 89.71 รองลงมาคือบริเวณไหล่ขวาและหลังบน ร้อยละ 80.15 และ 77.21 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ต่ออาการปวดคอ ไหล่ หลังของทันตบุคลากร พบว่า การออกกำลังกายมีความสัมพันธ์กับอาการปวดคอ ไหล่ หลังของทันตบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.02) หน่วยงานต้นสังกัดจึงควรมีการกำหนดนโยบายทางด้านสุขภาพต่อบุคลากรในหน่วยงาน เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ การตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี การทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกเพิ่มเติม และควรส่งเสริมให้ทันตบุคลากรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทันตบุคลากรได้เคลื่อนไหวร่างกาย และคลายกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
References
2. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2558. รายงานสถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค, นนทบุรี.
3. รัชติญา นิธิธรรมธาดา. 2556. การปวดคอ ไหล่ หลัง และปัจจัยเสี่ยงของการปวดคอ ไหล่ หลังของทันตบุคลากร ในสถานบริการสุขภาพของรัฐ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
4. พรสวรรค์ ธนธรวงศ์, 2554. การศึกษาปัจจัยเสี่ยงจากการทำงานต่อการเกิดอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกของทันตแพทย์กลุ่มหนึ่ง. วิทยาสารทันตสาธารณสุข, 16 (2); 9-24.
5. อภิญญา ยุทธชาวิทย์, 2554. การยศาสตร์กับการบาดเจ็บทางทันตกรรม. วารสารทันตาภิบาล, 22 (1) ;18-28.
6. จิราพรรณ กลางคาร, 2556. การปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
7. แมนสรวง วงศ์อภัย, 2551. ภาวะสุขภาพจากการทำงานของทันตแพทย์ภาครัฐ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
8. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา. 2560. ข้อมูลทันตบุคลากรในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดยะลา ปี 2560. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา.
9. กันยารัตน์ สมบัติธีระ และ ยุพา ถาวรพิทักษ์. 2558. อัตราการตอบกลับแบบสอบถามและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราการตอบกลับแบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ในงานวิจัย ด้านพยาบาลศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์. วารสารวิจัยมข. (บศ.), 15 (1); 105-111.
10. สุนิสา ชายเกลี้ยงและรัชติญา นิติธรรมธาดา. 2559. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดคอ ไหล่ หลังของทันตบุคลากรในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 46(1); 42-56
11. Jonker D, Roland Bo, Balogh I. 2009. Relation between perceived and measured workload obtained by long-term inclinometry among dentists. Appl Ergon, 40; 309-315.
12. ฌาน ปัทมะ พลยง, มริสสา กองสมบัติสุข, วรรณภา แสงศรีจันทร์และขนิษฐา เสมานุสรณ์. 2560 ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในกลุ่มบุคลากรของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดระยอง. วารสารควบคุมโรค, 43(3); 280-292.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล