ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่ใช้สื่อประสมประกอบการสอนต่อความรู้ พฤติกรรมการแปรงฟัน และปริมาณคราบจุลินทรีย์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • AungArun Somnuk Amnat Charoen
  • ประเสริฐ ประสมรักษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สวรรค์ สายบัว โรงพยาบาลลืออำนาจ อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ

คำสำคัญ:

โปรแกรมทันตสุขศึกษา, พฤติกรรมการแปรงฟัน, ปริมาณคราบจุลินทรีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่ใช้สื่อประสมประกอบการสอนต่อความรู้ พฤติกรรมการแปรงฟัน และปริมาณคราบจุลินทรีย์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 94 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายตามเกณฑ์คัดเข้าและเกณฑ์คัดออก ได้กลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 54 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษานาน 12 สัปดาห์ กิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายและสาธิตโดยใช้สื่อประสมประกอบการสอน การฝึกปฏิบัติจริง การสรุปบทเรียน และการสนับสนุนทางสังคมจากครูอนามัย ครูประจำชั้น นักเรียนแกนนำ และผู้วิจัย ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เก็บข้อมูลก่อนกับหลังการทดลองด้วยการตรวจปริมาณคราบจุลินทรีย์และสอบถามความรู้และพฤติกรรมการแปรงฟันของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วย Wilcoxon Signed Ranks Test และ Mann-Whitney U Test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า

                นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่ใช้สื่อประสมประกอบการสอนมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เพิ่มมากขึ้นและมากกว่านักเรียนที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการแปรงฟันเพิ่มมากขึ้นและมากกว่านักเรียนที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และคะแนนเฉลี่ยปริมาณคราบจุลินทรีย์ลดน้อยลงและน้อยกว่านักเรียนที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมทันตสุขศึกษามีประสิทธิภาพต่อความรู้ พฤติกรรมการแปรงฟัน และปริมาณคราบจุลินทรีย์ของนักเรียน ดังนั้น ทันตบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการกระตุ้นซ้ำ จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมทันตสุขภาพที่ยั่งยืน

References

1. สำนักทันตสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2563.
2. สำนักทันตสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ.2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2561.
3. สำนักทันตสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุขประจำปี 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2561.
4. สำนักทันตสาธารณสุข. โครงการวิจัยพัฒนารูปแบบงานอนามัยโรงเรียนที่มีคุณภาพ (ออนไลน์) 2561 (อ้างเมื่อ 24 พฤษภาคม 2562). จาก http://dental2.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/dental/ewt_dl_link.php?nid=20203.
5. สริญญา รอดพิพัฒน์, จินตนา สรายุทธพิทักษ์, สนอง เอกสิทธิ์ และปรีชา สุริยะ. การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับนักเรียนประถมศึกษา. Academic Journal of Thailand National Sports University. 2563 ม.ค. – เม.ย.; 12(1): 148-160.
6. หยาดพิรุณ วังอะโศก. การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 โรงเรียนในเขตตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่. [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยพะเยา; 2560.
7. นิศานาถ ไกร. ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อําเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี; 2561.
8. ไพรรินทร์ นวนกระโทก. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมอนามัยช่องปากในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา; 2561.
9. ณัฐนันท์ โกวิทวัฒนา และศิริพร ส่งศิริประดับบุญ. ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายเขตหนองจอก จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสาร J DENT ASSOC THAI. 2561 ก.ค. – ก.ย. ; 68(3): 278-287.
10. เยาวดี มาพูนธนะ. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
11. วีรยุทธ พลท้าว และและพรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาร่วมกับการใช้สื่อประสมช่วยสอนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบในนักเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารทันตาภิบาล. 2557 ก.ค. – ธ.ค.; 25(2): 75-88.
12. จรสพร ปัสสาคำ. ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่มีผลต่อพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสำโรง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์. [ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สุขศึกษา)]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2558.
13. Ivanovic M, Lekic P. Transient effect of a short-term educational programme without prophylaxis on control of plaque and gingival inflammation in school children; 1996, อ้างถึงใน ณัฐนันท์ โกวิทวัฒนา และศิริพร ส่งศิริประดับบุญ. ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายเขตหนองจอก จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสาร J DENT ASSOC THAI. 2561 ก.ค. – ก.ย.; 68(3): 278-287.
14. ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลลืออำนาจ. แผนกระจาย [Excel File]. ข้อมูลประชากรกลุ่มวัยเรียน; 2562.
15. นิคม ถนอมเสียง. การคำนวณขนาดตัวอย่าง Sample Size Determination [ออนไลน์] ม.ป.ป. [อ้างเมื่อ 18 เมษายน 2562]. จาก https://home.kku.ac.th/nikom/516201_sample_ size_ nk2561.pdf
16. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. คู่มือการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
17. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คู่มือและแนวทางการให้การรักษาผู้ป่วยทันตกรรมพร้อมมูลสำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ที่ฝึกปฏิบัติงานในคลินิกทันตกรรมพร้อมมูลประจำปีการศึกษา 2559 [ออนไลน์] 2559 [อ้างเมื่อ 18 เมษายน 2562]. จาก http://web1.dent.cmu.ac.th/mis/dis/ UserFiles/File/general/BooK%2059%20DGEN%20602.pdf
18. ยุทธ ไกยวรรณ์. หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
19. นฤมล ดีกัลลา, ธัชณกร ปัญญาใส, ฐิติพงศ์ อินสวน และพิมพ์ใจ จันหล้า. ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหศาสตร์ศึกษา ตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารสุขศึกษา. 2558 พ.ค. – ส.ค.; 38(130): 27-37.
20. ชิงชัย บัวทอง, ยินดี พรหมศิริไพบูลย์ และอัจริยา วัชราวิวัฒน์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบางเหียน อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2558 เม.ย. – มิ.ย.; 3(2): 293-306.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)