ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มารับบริการทำฟันเทียม ณ โรงพยาบาลซำสูง อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, บริการทันตกรรม, ความพึงพอใจ, ฟันเทียม, ฟันปลอมบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มารับบริการทำฟันเทียม ณ โรงพยาบาลซำสูง อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น” การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ณ ช่วงเวลาที่ทำการศึกษา เพื่อศึกษาความพึงพอใจ พฤติกรรมการใช้ฟันเทียม ประสิทธิภาพการใช้งานฟันเทียม และ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มารับบริการทำฟันเทียม ณ โรงพยาบาลซำสูง อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2562 จำนวน 104 คน จากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่ได้รับการใส่ฟันเทียมส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 60.6 ใส่ฟันเทียมบางส่วน ร้อยละ 59.6 อายุการใช้งานของฟันเทียมเฉลี่ย 5.3 ปี
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะประชากรกับระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มารับบริการทำฟันเทียม พบว่า อาชีพ ระดับการรับรู้การใส่ฟันเทียม และจำนวนปีที่ใส่ฟันเทียมมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มารับบริการทำฟันเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ 5 (p-value=0.04)
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการให้บริการของฝ่ายทันตกรรมกับระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มารับบริการทำฟันเทียม พบว่า ด้านผลการให้บริการการรักษามีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มารับบริการทำฟันเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ 5 (p-value<0.001)
References
[อ้างเมื่อ 12 มีนาคม 2563] จาก http://dental.anamai.moph.go.th/elderly/project.php
2. จีระวัฒน์ บุตรโคตร. ความพึงพอใจและคุณภาพชีวิตในมิตสิ สุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ได้รับ บริการ
ใส่รากฟันเทียม จากโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯอำเภอภูเวียง-หนองนาคา –เวียงเก่า จังหวัด
ขอนแก่น วารสารทันตาภิบาล 2560; 28, 1, 73-86.
3.นภาพร ศรีบุญเรือง. การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ฟันเทียมพระราชทานและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ภายใต้โครงการ ฟันเทียมพระราชทาน อำเภอเมืองลำปาง. [อ้างเมื่อ 12 มกราาคม 2563] จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/
4. ชัยรัตน์ ทับทอง. การประเมินความพึงพอใจและผลกระทบของฟันเทียม ต่อคุณภาพผู้สูงอายุ อำเภอหนอ บุญมาก จังหวัดนครราชสีมา วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2558; 20, 2, 60-69.
5. สุภาพร แสงอ่วม และคณะ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ ในเขตภาคเหนือ ตอนล่าง ประเทศไทย ชม.ทันตสาร 2558; 36, 1, 53-61.
6. Ferreira O de C, Antunes FLJ, Andrade de BF. Factors associated with the use of dental services by elderly Brazillians. Rev Saude Publica 2013; 47: 1-7.
7. Al-Hussyeen AJ. Factors affecting utilization of dental health services and satisfaction among adolescent females in Riyadh City. Saudi Dental Journal 2009; 22: 19-25.
8. จุฑาภรณ์ คำโยค และคณะ. ความพึงพอใจของผุ้รับบริการต่อการให้บริการ โรงพยาบาลทันต กรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วารสาร Mahidol R2E e-Journal 2559; 3, 2, 93-108.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล