การกระจายเชิงพื้นที่ของโรคฟันผุในเด็กอายุ 3 ปีและ 12 ปี อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การกระจายเชิงพื้นที่, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, โรคฟันผุ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพื้นที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ของพื้นที่กับโรคฟันผุในเด็กอายุ 3 ปีและ12 ปี อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากรในการศึกษาคือ เด็กอายุ 3 ปีและ 12 ปี โดยนำข้อมูลทุติยภูมิของพื้นที่ วิเคราะห์ด้วยโปรแกรม QGIS และโปรแกรมสำหรับวิเคราะห์ทางด้านพื้นที่ GeoDa สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติ Moran’s I Coefficient และสถิติ Local Indicators of Spatial Association (LISA)

ผลการศึกษา พบว่า ความสัมพันธ์ของพื้นที่กับโรคฟันผุในเด็กอายุ 3 ปี เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในภาพรวมทั้งหมด มีค่า Moran’s I = -0.322 ซึ่งมีรูปแบบการเกิดโรคฟันผุแบบกระจายตัว ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่แบบเฉพาะจุด ด้วยสถิติ LISA พบว่าตำบลท่าคันโทเป็นพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์ของการเกิดโรคฟันผุสูงที่สุด (P-value = 0.001) มีลักษณะการเกาะกลุ่มแบบ High-low นั่นคือ ตำบลท่าคันโทมีอัตราการเกิดโรคฟันผุที่สูง โดยที่ตำบลข้างเคียงมีอัตราการเกิดโรคฟันผุที่ต่ำกว่า ส่วนความสัมพันธ์ของพื้นที่กับโรคฟันผุในเด็กอายุ 12 ปี เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในภาพรวมทั้งหมด มีค่า Moran’s I = -0.266 ซึ่งมีรูปแบบการเกิดโรคฟันผุแบบกระจายตัว ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่แบบเฉพาะจุด พบว่าตำบลท่าคันโทเป็นพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์ของการเกิดโรคฟันผุสูงที่สุด (P-value = 0.001) ลักษณะการเกาะกลุ่มแบบ High-low คือ ตำบลท่าคันโทมีอัตราการเกิดโรคฟันผุที่สูง โดยที่ตำบลข้างเคียงมีอัตราการเกิดโรคฟันผุที่ต่ำกว่า การศึกษาที่ได้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานนำไปวางแผนการดำเนินงานด้านทันตสุขภาพเฉพาะพื้นที่ในอำเภอท่าคันโทต่อไป

References

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานกิจการพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2561.
Evangelos CF, Ioanna VP, Dimitra M, Konstantinos T, Christos FK, and Lambrini K. Health Based Geographic Information Systems (GIS) and their Applications. Acta Inform Med. 2014 Dec; 22(6): 402–405.
ศุภศิลป์ ดีรักษา, วาระดิถี มังคละแสน, พิชุดา วรีนิธาน, วิภาดา จิตรปรีดา, วรารัตน์ น้อยเสนา และ จิดาภา ยิ้มตะคุ. รายงานการวิจัยพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุในเด็กนักเรียนอายุ 3 ปี และ 12 ปี อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์: โรงพยาบาลท่าคันโท; 2562.
Kramer PF, Priesnitz MC, Celeste RK, et al. Spatial distribution of dental caries among preschool children in Canoas, Southern Brazil. Acta Odontologica Latinoamericana : AOL. 2019 Apr;32(1):3-9.
Srisilapanan P, Nirunsittirat A and Roseman J. Trends over Time in Dental Caries status in Urban and Rural Thai Children. J Clin Exp Dent. 2017;9(10):e1201-e1206.
Thanakanjanaphakdee W, Laohasiriwong Wand Puttanapong N. Spatial distribution of dentists in Thailand. J Int Oral Health 2019;11:340-6
Manortey, S. and Acheampong, G.K. A Spatial Perspective to the Distribution of Healthcare Facilities and Health Personnel in the Eastern Region of Ghana. Open Access Library Journal 2016; 3: e2956.
Vichayanrat T, Sittipasoppon T, Rujiraphan T, Meeprasert N, Kaveepansakol P and Atamasirikun Y. Oral health literacy among mothers of preschool children Oral health literacy among mothers of pre-school children. M Dent J 2014;34(3):243 52.
Vachirarojpisan T, Shinada K, Kawaguchi Y, Laungwechakan P, Somkote T and Detsomboonrat P. Early childhood caries in children aged 6-19 months. Community Dent Oral Epidemiol. 2004;32(2):133-142.
Cianetti S, Lombardo G, Lupatelli E, et al. Dental caries, parents educational level, family income and dental service attendance among children in Italy. Eur J Paediatr Dent. 2017;18(1):15-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)