ทัศนมิติในการเข้ารับบริการทางทันตกรรมของประชาชนในสภาวะแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส (โควิด 2019) อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ทัศนมิติ, บริการทางทันตกรรม, โควิด 2019บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาทัศนมิติในการเข้าหรือไม่เข้ารับบริการทางทันตกรรม ของโรงพยาบาลท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ในสภาวะแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 12 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการบันทึกเสียง โดยนำข้อมูลต่างๆที่ได้มาจากการสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่ได้มาจัดกลุ่มวิเคราะห์แก่นสาระที่ได้ (Thematic Analysis)
ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มที่มารับบริการทางทันตกรรมและกลุ่มที่มีปัญหาช่องปากแต่ไม่ประสงค์มารับบริการในโรงพยาบาลท่าคันโทในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรู้,ความกังวลในการติดเชื้อ, ความเสี่ยงในการติดเชื้อ, การป้องกันตนเองจากโคโรนาไวรัส 2019, ความวิตกกังวลในการรับบริการทางทันตกรรม และความคิดเห็นในการเข้ารับบริการทางทันตกรรมช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส 2019 มีมุมมองทัศนมิติที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มที่มารับบริการทันตกรรมในโรงพยาบาลท่าคันโท ส่วนใหญ่ มีการรับรู้ ความกลัว ความวิตกกังวลเกี่ยวโคโรนาไวรัส 2019 น้อยกว่า กลุ่มที่มีปัญหาช่องปากแต่ไม่ประสงค์มารับบริการในโรงพยาบาลท่าคันโท
กล่าวโดยสรุป มุมมองเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรในด้านทัศนมิติที่ดีของประชาชนเกี่ยวกับการเข้ารับบริการทันตกรรมในสภาวะแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคอุบัติการณ์ใหม่ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคตได้
References
2 WHO Novel coronavirus – Thailand (ex-China) Jan 14, 2020. Available from: http://www.who.int/csr/don/14-january-2020-novel-coronavirus-thailand/en/
3 Zahra SA, Iddawela S, Pillai K, Choudhury RY, Harky A.
Can symptoms of anosmia and dysgeusia be diagnostic for COVID-19? Brain Behav. 2020; 10(11)
4 Fallahi HR, Keyhan SO, Zandian D, Kim SG, Cheshmi B. Being a front-line dentist during the Covid-19 pandemic: a literature review. Maxillofac Plast Reconstr Surg. 2020; 42(1)
5 Huang C., Wang Y., Li X., Ren L., Zhao J., Hu Y. Clinical features of patients infected with 2019 novel coronavirus in Wuhan, China. Lancet. 2020; 395(10223): 497–506.
6 Amato A, Caggiano M, Amato M, Moccia G, Capunzo M, De Caro F. Infection Control in Dental Practice During the COVID-19 Pandemic. Int J Environ Res Public Health. 2020; 17(13)
7 Peng X, Xu X, Li Y, Cheng L, Zhou X, Ren B. Transmission routes of 2019-nCoV and controls in dental practice. Int J Oral Sci. 2020; 12(1)
8 มนัสนันท์ ลิมปวิทยากุล, กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์, นิรันตา ไชยพาน, จักรกฤษณ์ พลราชม, มาสริน ศุกลปักษ์. การรับรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาของประชาชนไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด; 2558.
9 Niscastro, E. A., &Whetsell,M.E. Children's fear. Journal of Pediatric Nursing 1999; 1(16): 392-402.
10 Shorey S, Ang E, Yamina A, Tam C. Perceptions of public on the COVID-19 outbreak in Singapore: a qualitative content analysis. Journal of Public Health. 2020; 42(4)
11 BruinW.B, Bennett D. Relationships Between Initial COVID-19 Risk Perceptions and Protective Health Behaviors: A National Survey. American Journal of Preventive Medicine. 2020; 59(2): 157-67.
12 Wong W.C.W, K.-C.Chan, Tang H.-W,Lam M.W.H. The cycle fear: a qualitative study of SARS and its impacts on kindergarten parents one year after the outbreak. The Jounal of The Hong Kong College of Family Physicians. 2007; 29(4): 146-55.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล