ประสิทธิภาพของการใช้โปรแกรม AP Dental ในการบันทึกข้อมูลทางทันตกรรม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

สุวิทย์ - คุณาวิศรุต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของการใช้โปรแกรม AP Dental ในการบันทึกข้อมูลทางทันตกรรมของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้โปรแกรม ความแตกต่างระหว่างการใช้โปรแกรมกับการบันทึกข้อมูลแบบปกติ (Chart record) และความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้โปรแกรม กลุ่มผู้ทดลองใช้โปรแกรมคือนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุขชั้นปีที่ 3 ในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรม AP Dental แบบจำลองลักษณะภายในช่องปาก แบบประเมินผลของการใช้โปรแกรม AP Dental และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ Wilcoxon Sign Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า การบันทึกข้อมูลทางทันตกรรมโดยใช้โปรแกรม AP Dental ใช้เวลาน้อยกว่าการการบันทึกข้อมูลแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การบันทึกข้อมูลทางทันตกรรมโดยใช้โปรแกรม AP Dental มีการบันทึกข้อมูลถูกต้องมากกว่าการบันทึกข้อมูลแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การประเมินความพึงพอใจของโปรแกรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมีคะแนนอยู่ในช่วง 3.46 – 4.68 คะแนน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกข้อโดยการเข้าถึงโปรแกรมสะดวก ไม่ซับซ้อน มีคะแนนสูงสุด โดยมีคะแนนอยู่ในช่วง 3.91 – 4.91 คะแนน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

1. สำนักนโยบาย และยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการเก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูลในสถานพยาบาล พ.ศ. 2559.
กรุงเทพฯ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ ; 2559.
2. ศุทธดา บุตรงามดี. ระบบการจัดการสารสนเทศศูนย์ทันตกรรมภายในคลินิกทันตแพทย์ พ.5. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ; 2559.
3. พีรยศ ภมรศิลปะธรรม. โปรแกรมบริหารระบบสารสนเทศคลินิกทันตกรรม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร ; 2559.
4. สุมาลี อินไชย. ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยนอกในโปรแกรม HOSXP PCU โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำกิ ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน.
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร ; 2560.
5. รัตนาภรณ์ ศรีหาพล. ความพึงพอใจต่อการใช้บริการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารใน 3 ด้าน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ; 2559.