พฤติกรรมสุขภาพช่องปาก ปัจจัยส่วนบุคคลและสังคม ที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • prateep kankhwao วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ขอนแก่น 90/1 ถนนอนามัย ต.เมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

คำสำคัญ:

ผู้ต้องขัง, พฤติกรรมสุขภาพช่องปาก, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพช่องปาก คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและสังคม พฤติกรรมสุขภาพช่องปากกับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขัง 337 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปาก รวมทั้งแบบวัดผลกระทบสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิต ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.75, 0.73, 0.72 และ 0.94 ตามลำดับใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมนในการวิเคราะห์ข้อมูล กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ต้องขังส่วนมากมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากในระดับต่ำร้อยละ 71.2 เจตคติในการดูแลสุขภาพช่องปากในระดับสูงร้อยละ 57.30 มีการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากในระดับปานกลางร้อยละ 68.55 คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากมีค่าความรุนแรงเท่ากับ 13.83 ผู้ต้องขังส่วนมากมีปัญหาสุขภาพช่องปากร้อยละ 76.60 ส่วนความสัมพันธ์พบว่า อายุ รายได้ และระดับการศึกษาของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดนนทบุรีไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก (rs=-0.007,P=0.887; rs=0.051,P=0.348 และ rs=-0.040,P=0.464 ตามลำดับ) ความรู้ และเจตคติ มีความสัมพันธ์เชิงบวก        (rs=0.190,P=<0.001 และ rs=0.201,P=<0.001 ตามลำดับ) ส่วนการปฏิบัติมีความสัมพันธ์เชิงลบ            (rs=-0.126,P=0.021) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก สรุปควรให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากโดยเน้นการปฏิบัติ จัดการสิ่งแวดล้อมหรือจัดสรรเวลาให้เอื้อต่อการดูแลช่องปาก และสนับสนุนให้มีระบบการรักษาหรือปรึกษาทางทันตกรรมทางไกล (Teledentistry) ร่วมกับโรงพยาบาลแม่ข่ายเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการทันตกรรม

References

1. กรมราชทัณฑ์. รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ.[ออนไลน์] [อ้างเมื่อ 18 กุมภาพันธ์
2563] จาก http://www.correct.go.th/rt103pdf/report_result.php?date=2020-02-01&report=
2. จุรีรัตน์ ทะนงศักดิ์สกุล และพลินี เดชสมบูรณ์รัตน์. การสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของ
ผู้ต้องขังชายในทัณฑสถานบำบัดพิเศษจังหวัดปทุมธานี. ว.ทันต. 2551;58:255-262
3. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550.[ออนไลน์] 2550 [อ้างเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2563] จาก http://pcmc.swu.ac.th/EC/document/form/dw_form4/17.pdf
4. Nobile CG, Fortunato L, Pavia M, Angelillo IF. Oral health status of male
prisoners in Italy. International dental journal. 2007 Feb;57(1):27-35.
5. Naidoo S, Yengopal V, Cohen B. A baseline survey: oral health status of
prisoners--Western Cape. Journal of the South African Dental Association. 2005;60(1):24-7.
6. สุพัตรา วัฒนเสน และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางจังหวัดขอนแก่น. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. 2557.
7. McGrath C. Oral health behind bars: a study of oral disease and its impact
on the quality of an older prison population. Gerodontology. 2002;19:109-114.
13.14 Cohen K, Jago JD. Towards the formulation of sociodental indicator. Int J Health Serv. 1976;6:681-7.
8. Cohen K, Jago JD. Towards the formulation of sociodental indicator. Int J Health Serv. 1976;6:681-7.
9. Sheiham A. Oral health, general health and quality of life. Bulletin of the World Health Organization. 2005 Sep;83(9):644.
10. Sischo L, Broder HL. Oral health-related quality of life: what, why, how, and future implications. Journal of dental research. Nov;90(11):1264-70.
11. Reisine ST. Theoretical considerations in formulating sociodental indicators. Social science & medicine. 1981 Dec;15(6):745-50.
12. Dolan TA. Identification of appropriate outcomes for an aging population. Spec Care Dentist. 1993 Jan-Feb;13(1):35-9.
13. Slade GD. Measuring oral health and quality of life. Chapel Hill: University of North Carolina 1997.
14. อัญชลี ดุษฎีพรรณ. การให้ทันตสุขศึกษา. เชียงใหม่ 2538.
15. สุชาติ โสมประยูร. การสอนสุขศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช 2541.
16. Schwartz NE. Nutritional knowledge attitude,and practices of high school. J AM Diet Assoc. 1975;66:28-31.
17. DAHL KE, WANG NJ, SKAU I, ÖHRN K. Oral health-related quality of life and associated factors in Norwegian adults. Acta Odontologica Scandinavica. 2011;69:208-14.
18. Piovesan C, Antunes JLF, Guedes RS, Ardenghi TM. Impact of socioeconomic and clinical factors on child oral health-related quality of life (COHRQoL). Qual Life Res. 2010;19:1359-66.
19. Chavers LS, Gilbert GH, Shelton BJ. Racial and socioeconomic disparities in oral disadvantage, a measure of oral health-related quality of life: 24-month incidence. Journal of public health dentistry. 2002 Summer;62(3):140-7.
20. Alsumait A, Elsalhy M, Almunezaa E. Relationship Between Oral Health Knowledge, Attitude and Practices of Primary School Teachers and Their Oral Health-related Quality of Life: A Cross-sectional Study. Oral Health & Preventive Dentistry. 2016;14:519-28.
21. Moon B-A, Jeong S-R, Jang J-Y, Kim K-Y. Health-related quality of life by oral health behavior and oral health status for the Middle-aged people. Journal of Korean Society of Dental Hygiene. 2005;15:197-204.
22. Hovsepyan S. Oral health-related quality of life and oral hygiene knowledge, attitudes, and practices of the general population in Sevan and Artashat cities, Armenia: Turpanjian School of Public Health American University of Armenia; 2019.
23. วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ. ปัญหาสุขภาพผู้ต้องขัง.[ออนไลน์] [อ้างเมื่อ 27 เมษายน 2563] จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/400416
24. สิริวุฒิ รวีไชยวัฒน์. คุมโรคแดนคุก ดูแลสุขภาพผู้ต้องขัง.[ออนไลน์] [อ้างเมื่อ 27 เมษายน 2563] จาก https://mgronline.com/qol/detail/9590000092678
25. Kandyce JM, Marie C. Access to Oral Health Care in the Georgia Prison System. The Journal of Dental Hygiene. 2013;87(5):271-4.
26. อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์ 2552.
27. สมรมน ช้วนปรีชา และพิศมัย จารุจิตติพันธ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังสูงอายุในเรือนจำและทัณฑสถานเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเกษมบัณฑิต. 2559;17(1):110-26.
28. สุดาดวง กฤษฎาพงษ์. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก Oral Health-Related Quality of Life. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2557.
29. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. คู่มือการจัดบริการสุขภาพช่องปากในเรือนจำ. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: บริษัท เอ ดรีม สตูดิโอ จำกัด 2563.
30. Digra R, Gupta N, Arora V, Gupta P. Oral health Knowledge, attitude and practice (KAP) among prison inmates of Ambala District, Haryana (India). Dent Oral Craniofac Res. 2015;1:101-4.
31. Riswanto MB, Agustina A, Wardani R. Knowledge, Attitude, and Practice of Prisoners' Oral Health Care Aged 35-44 Years in Prison of Class IIB Garut. 2013 [cited 2021 Apr 13]; Available from: http://www.aasic.org/proc/aasic/article/view/61
32. Clague J, Belin TR, Shetty V. Mechanisms underlying methamphetamine-related dental disease. Journal of the American Dental Association (1939). Jun;148(6):377-86.
33. Morio KA, Marshall TA, Qian F, Morgan TA. Comparing diet, oral hygiene and caries status of adult methamphetamine users and nonusers: a pilot study. Journal of the American Dental Association (1939). 2008 Feb;139(2):171-6.
34. Fotedar S, Chauhan A, Bhardwaj V, Manchanda K, Fotedar V. Association Between Oral Health Status and Oral Health-Related Quality of Life among the Prison Inmate Population of Kanda Model Jail, Shimla, Himachal Pradesh, India. Indian Journal of Public Health. 2021;60(2):150-3.
35. Slade GD, Nuttall N, Sanders AE, Steele JG, Allen PF, Lahti S. Impacts of oral disorders in the United Kingdom and Australia. British dental journal. 2005 Apr 23;198(8):489-93; discussion 3.
36. Zheng S, Zhao L, Ju N, Hua T, Zhang S, Liao S. Relationship between oral health-related knowledge, attitudes, practice, self-rated oral health and oral health-related quality of life among Chinese college students: a structural equation modeling approach. BMC Oral Health. 2021:1-11.
37. World Health Organization. Health in prisons A WHO guide to the essentials in prison health. 2007 [cited 2021 Apr 13]; Available from: https://www.euro.who.int/__data/assets/pdf_file/0009/99018/E90174.pdf
38. Ryan J. Corrections Management (General Operating) Policy 2010. 2010 [cited 2021 Apr 13]; Available from: https://legislation.act.gov.au/DownloadFile/ni/2010-398/current/PDF/2010-398.PDF
39. ราชกิจจานุเบกษา. เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์.[ออนไลน์] 2564 [อ้างเมื่อ 13 เมษายน 2564] จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/008/T_0001.PDF
40. เทียมยศ ปะสาวะโน. เอดูเทนเมนต์ : การศึกษาแนวใหม่ที่โดนใจวัยรุ่น. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 2556;1:25-35.
41. Petcu R, Ologeanu-Taddei R, Bourdon I, Kimble C, Giraudeau N. Acceptance and Organizational Aspects of Oral tele-Consultation: a French Study. 2016 [cited 2021 Apr 13]; Available from: https://halshs.archives-ouvertes.fr/halshs-01273672/document

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)