พฤติกรรมการใช้สมุนไพรในช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • Thanissa Ramrit วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

สุขภาพช่องปาก การใช้สมุนไพรในช่องปาก ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม อาสาสมัครสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในช่องปาก และหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไป ความรู้ ทัศนคติ กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 411 คน จากการการสุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น

ผลการศึกษา พบว่า ระดับความรู้การใช้สมุนไพรในช่องปากของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (ร้อยละ 56.20)  ระดับทัศนคติการใช้สมุนไพรในช่องปากในภาพรวมอยู่ในระดับดี (=3.86, SD=0.6) มีการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคในช่องปาก (ร้อยละ 94.40) ในกลุ่มนี้ใช้สมุนไพรในการรักษาโรคในช่องปากโดยใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน (ร้อยละ 79.38) เนื่องจากเชื่อในประสิทธิผลของสมุนไพร (ร้อยละ 36.60) ส่วนใน อสม.ที่ไม่เคยใช้สมุนไพร (ร้อยละ 5.60) เนื่องจากกลัวได้รับอันตรายจากการใช้สมุนไพร (ร้อยละ 47.83) พฤติกรรมการใช้สมุนไพรในช่องปากของ อสม.มีความสัมพันธ์กับ อายุ  รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษา ระยะเวลาการเป็น อสม. และความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<0.05)  ส่วนเพศและทัศนคติไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในช่องปากของ อสม.อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.060, 0.224)

References

1. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. แผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมนไพรไทย. นนทบุรี:กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2559
2. ชัยณรงค์ เพ็ชรศิริ.พฤติกรรมการใช้สมุนไพรของประชาชนในอำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี: วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต (การปกครองท้องถิ่น) มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี; 2560
3. อักษร สวัสดี. ความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในการอนุรักษาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : กรณีศึกษาในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2542
4. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์; 2537
5. อัมพาพร นพรัตน์. ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลาปีการศึกษา 2556. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2556
6. ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์- มหาวิทยาลัย; 2544
7. ปวีณา วงษ์ชะอุ่ม. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตภาคปกติ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)