ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปาก ในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเสริมงาม จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ชยุตรา แปงสนิท กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลเสริมงาม ; คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ผศ.ดร.ทวีวรรณ ศรีสุขคำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

โปรแกรมการดูแลทันตสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

          โรคปริทันต์เพิ่มสูงขึ้นตามอายุ และโรคเบาหวานส่งผลทางตรงให้เกิดโรคปริทันต์ ทั้งหมดนี้ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสื่อมของร่างกาย จิตใจ และสังคม อันมีผลทำให้คุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุลดลงด้วย การวิจัยนี้เป็นแบบกลุ่มเดียววัดหลายครั้ง จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังของ         โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเสริมงาม จังหวัดลำปาง มีกลุ่มตัวอย่าง 31คน ซึ่งมาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์  และโปรแกรมประยุกต์จากทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน ระยะเวลา 10 สัปดาห์ นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน One-way repeated measure ANOVA

          ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ย และค่าความแปรปรวนด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานเรื่องการดูแลอนามัยช่องปาก (F=64.070, p<0.001), การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการป้องกันโรค (F=116.335, p<0.001), ความคาดหวังในผลที่เกิดจากการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรค (F=31.873, p<0.001) และพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปาก (F=56.79, p<0.001) มากกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

          โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากนี้ เป็นการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ให้มีความมั่นใจในตนเอง มีความสามารถที่จะกำหนดพฤติกรรมที่เหมาะสมกับตนเองได้ โดยมีความคาดหวังต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพมากขึ้น สามารถใช้กับกลุ่มที่มีลักษณะทางประชากรคล้ายคลึงกัน เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปาก และสุขภาพองค์รวมดีขึ้นต่อไป

Author Biography

ผศ.ดร.ทวีวรรณ ศรีสุขคำ, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

สาขาวิชาอนามัยชุมชน
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
เลขที่ 19 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมือง
จังหวัดพะเยา 56000

References

1. World Health Organization. Health Promotion Glossary [Internet]. Geneva: WHO; 1998 [cited 2020 August 7]. Available from https://www.who. int/healthpromotion/about/ HPR %20Glossary %201998.pdf?ua=1
2. กฤษณา ตรียมณีรัตน์, นิสสรา แผ่นศิลา, กรชนก วุฒสิมวงศก์. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุตามโรค (สำหรับประชาชน). สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข ;2557.
3. น้ำเพชร ตั้งยิ่งยง. รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน โดยบทบาทของนักบริบาล จังหวัดอุบลราชธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2561.
4. ภูมิฤทัย จุรัณณะ, ประนัดดา โพธ์ปักขา, อรวรรณ นามมนตรี, จอนสัน พิมพิสาร. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความเข้มแข็งในการมองโลกต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน. ว.ทันตาภิบาล 2562;30(2):67-79
5. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2561. “จำนวนและอัตราตาย ต่อประชากร 100,000 คน จำแนกตามกลุ่มอายุ เพศ และสาเหตุ”. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2561.
6. รถนา ไวยวาจี. ความสัมพันธ์ของการเกิดโรคปริทันต์อักเสบและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในจังหวัดสระแก้ว. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2556.
7. P.I. Eke, B.A. Dye, L. Wei, G.O. Thornton-Evans, R.J. Genco. Prevalence of Periodontitis in Adults in the United States: 2009 and 2010; 2013.
8. วัชราภรณ์ เสนสอน, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา, เสาวนันท์ บำเรอราช. โรคเบาหวานกับสุขภาพช่องปาก. ว.ทันต.ขอนแก่น, ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค. 2553
9. กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562. กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย. 2562
10. คลังข้อมูลสุขภาพ Data Health Center [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 12 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main /index.php
11. ฝ่ายทันตกรรม. โรงพยาบาลเสริมงาม. รายงานสำรวจข้อมูลเบื้องต้น (Pilot Study) สภาวะทันตสุขภาพและความเชื่อด้านสุขภาพในผู้สูงอายุติดสังคม ตำบลเสริมซ้าย. 2563
12. ภาสิต ศิริเทศ, ณพวิทย์ ธรรมสีหา. ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ. ว.พยาบาลทหารบก 2562;20(2):58-65
13. นฤมล จันทร์สุข, ยุทธนา พินิจกิจ, ชวนนท์ จันทร์สุข. ผลของการใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. ว.การแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2562;27(1)30-9
14. Bandura A. Social Foundation of Thought and Action: a social of cognitive Theory. NJ: Prentice-Hall; 1986.
15. Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine. 2008; 67(12) :2072s-8s.
16. Faul F, Erdfelder E, Buchner A, Lang AG. Statistical power analysis using G*Power 3.1: Test for correlation and regression analyses. Behav Res Methods 2009;41:1149-60.
17. ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้ [อินเตอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2561.
18. ไพสิฐ ภิโรกาศ. ผลงานนวัตกรรม : โมเดลฟัน ไม่สิ้นลาย. ประชุมวิชาการสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 2 หัวข้อ “ต่อยอดคุณค่าสาธารณสุข ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในยุคดิจิตอล” [อินเทอร์เน็ต]เข้าถึงได้จาก.http://203.157.71.172/academic/web/files /2563/innovation/MA2563-001-04-0000000122-0000000010.pdf. 2563.
19. Kolb David A. Experiential learning: experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall;1984
20. Xin Yi Xu, Angela Yee Man Leung, Pui Hing Chau. Health Literacy, Self-Efficacy, and associated factors among patients with diabetes. HLRP: Health Literacy Research and Practice. 2018;2:e67-77
21. Deeraksa S, Leangubon J, Thaewpia S. The effectiveness of oral health program by learning with a group discussion for oral health behaviors of patients with diabetes mellitus in the sanitarium Thakhuntho sub district, Thakhuntho district, Kalasin Province. Thai dental nurse journal 2014;25(2):45-58
22. กฤษฏชาติ ภาชนะวรรณ. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคปริทันต์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและ การส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559.
23. ประภัสสร ลือโสภา, บัววรุณ ศรีชัยกุล, สุริยา รัตนปริญญา. ผลของโปรแกรมประยุกต์การเฝ้าระวังตนเองทางทันตสุขภาพร่วมกับการดูแลโดยกลุ่มเพื่อนต่อการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพตนเองของ ผู้สูงอายุในตำบลสระบัว อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย มหาสารคาม 2556;33(1):46-54

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)