การเข้าถึงบริการทันตกรรมของแรงงานต่างด้าวในเขตชายแดนจังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

มารุต - ภู่พะเนียด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าถึงบริการทันตกรรมของแรงงานต่างด้าวในเขตชายแดน อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างแรงงานต่างด้าวในอำเภอสังขละบุรี จำนวน 390 คน สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า แรงงานต่างด้าวในเขตชายแดน อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-29 ปี มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สถานภาพโสด ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทหรือโรงงาน อาศัยอยู่บ้านตัวเอง มีรายได้เดือนละ 10,001 – 20,000 บาท และมีสิทธิการรักษาพยาบาลเป็นสิทธิประกันสังคม การเข้าถึงบริการทันตกรรมของแรงงานต่างด้าว อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ (Mean = 1.59 SD = 0.10) เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านความสามารถในการจ่ายค่าบริการ (Mean = 2.03 SD = 0.35)  และด้านการยอมรับคุณภาพบริการ (Mean = 2.10 SD = 0.28) ด้านที่อยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ ด้านการเข้าถึงแหล่งบริการ (Mean = 1.56 SD = 0.24) ด้านความเพียงพอของบริการ (Mean = 1.36 SD = 0.23) ด้านความสะดวกของบริการ (Mean = 1.37 SD = 0.24) ด้านการสื่อสาร(Mean = 1.10 SD = 0.14) ดังนั้นหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับควรให้ความสำคัญเรื่องภาษาและการสื่อสารกับชาวต่างชาติ โดยฉพาะเขตพื้นที่ที่มีแรงงานข้ามชาติจำนวนมากอาศัยอยู่

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

1. บงกชมาศ เอกเอี่ยม. การย้ายถิ่นข้ามชาติ: การสร้างและธำรงรักษาเครือข่ายทางสังคมของแรงงานพม่าหญิงในเมืองเชียงใหม่. วารสารอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน. 2562; 10(1): 13-38.
2. ภัคสิริ แอนิหน. แรงงานต่างด้าว: การบริหารและการจัดการในประเทศไทย. วารสารศิลปการจัดการ. 2561; 2(2): 117-132.
3. พิมพ์ชนก ลาพิงค์. การบริหารจัดการสิทธิประโยชน์ ความสำเร็จด้านประกันสังคมของสำนักงาน ประกันสังคม อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ประกันสังคมของแรงงานต่างด้าว. [ออนไลน์] 2557 [อ้างเมื่อ 7 มิถุนายน 2562] จาก http://dric.nrct.go.th/Search/ShowFulltext/2/277738
4. ประสิทธิ์ มานะเจริญ. การศึกษาและพัฒนาความร่วมมือทางด้านสาธารณสุข ชายแดนภาคตะวันออกเพื่อการแก้ปัญหาสาธารณสุข. [ออนไลน์] 2557 [อ้างเมื่อ 7 มิถุนายน 2562] จาก https://image.mfa.go.th/mfa/0/yZ0EO327fd/nbt/nbt6/IS/IS6048.pdf
5. อรทัย ศรีทองธรรม, สุภาภรณ์ สงค์ประชา, วิศิษฐ์ สงวนวงศ์วาน และ สุวารี เจริญมุขยนันท์. การบริการสุขภาพโรงพยาบาลชุมชนที่มีชายแดนติดประเทศลาว พม่า และกัมพูชา เมื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 2560; 57(1): 85-108.
6. Penchansky, R., & Thomas, W.J. The concept of access definition and relationship to consumer satisfaction. Medical Care. 1981; 19(2): 127-140.
7. อัชวัฒน์ คำหวาน และ ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. การเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ กรณีศึกษา อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2559; 4(3): 359-374.
8. สำนักทะเบียนกลาง. จำนวนราฎรทั่วราชอาณาจักรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร. [ออนไลน์] 2561 [อ้างเมื่อ 7 มิถุนายน 2562] จาก http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_61.pdf
9. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี.การใช้บริการสาธารณสุข. [ออนไลน์] 2562 [อ้างเมื่อ 11 มิถุนายน 2562] จาก https://kri.hdc.moph.go.th/hdc
10. ทรงชัย ทองปาน. องค์ความรู้ว่าด้วยแรงงานข้ามชาติกับสุขภาพ: ผลจากการสังเคราะห์งานวิจัยว่าด้วยแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย. วารสารสุขศึกษา. 2563; 43(2): 1-17.
11. วรวิทย์ มิตรทอง. การเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาในโรงพยาบาลสมุทรสาคร. [วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.