ความวิตกกังวลในการมารับบริการทางทันตกรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ของผู้ที่มารับบริการในโรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
ความรุนแรงของเชื้อโคโรนาไวรัส 2019, ความวิตกกังวล, ความเสี่ยงในการมารับบริการทางทันตกรรม, ความวิตกกังวลในการมารับบริการทางทันตกรรมบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความวิตกกังวลในการมารับบริการทางทันตกรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลในการมารับบริการทางทันตกรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ของผู้ที่มารับบริการในโรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และการรับรู้ความรุนแรงของเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 การรับรู้ความเสี่ยงของเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ในการมารับบริการทางทันตกรรม ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 กลุ่มตัวอย่างผู้ที่มารับบริการในโรงพยาบาลบ้านผือ จำนวน 347 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า
- กลุ่มตัวอย่างมีความวิตกกังวลในการมารับบริการทางทันตกรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีผลรวมความวิตกกังวลในการมารับบริการทางทันตกรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.46
- เมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบว่า การรับรู้ความรุนแรงของเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 การรับรู้ความเสี่ยงของเชื้อโคโรนาไวรัส และความรู้เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลในการมารับบริการทางทันตกรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (r = 0.404, p value =<0.001, r = 0.473, p value =<0.001 และ r = 0.160, p value =0.003 ตามลำดับ )ทั้งนี้จะนำผลวิจัยที่ได้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนการให้บริการทางทันตกรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ต่อไปในอนาคต
References
กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางการให้วัคซีนโควิด -19 ในสถานการณ์การระบาดปี 2564 ประเทศไทย.
จีรภา ประพาศพงษ์, วรานุช ปิติพัฒน์, และ สุบิน พัวศิริ. (2554). ความวิตกกังวลในการรักษาทางทันตกรรมกลุ่มผู้ใหญ่ในชนบท อายุ 35-44 ปี อําเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
ฐิติ นุรัตน์, อุบลทิพย์ ฉายแสง,และคณะ. (2019). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความวิตกกังวลในการรักษาทางทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงานอายุ 35-44 ปี ในเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา, 2(3) , 33
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์.(2556). การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาฯ (วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ), 16(2), 13
พรพรรณ บัวทอง. (2564).วัคซีนไฟเซอร์-ซิโนแวก ประชาชนให้ความเชื่อมั่น ต่างกันแค่ไหน.[เว็บบล็อก].สืบค้น www.prachachat.net
วิลาวัลย์ พรมชินวงค์ และ สุพรรษา จันทร์สว่าง. (2020). ทัศนมิติในการเข้ารับบริการทางทันตกรรมของผู้ป่วยในสภาวะแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส(โควิด 2019) อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธ์.
วารสารทันตาภิบาล, 32(1) , 87
วิศิษฏ์ เนติโรจนกุล. (2563). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลนครปฐมในยุคการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19 ), 39(4) , 617-619
สุกัญญา เอกปัญญาสกุล. (2562). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความวิตกกังวลจากการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับ Covid--19ในประชากร เขตกรุงเทพมหานคร. 1-2
อภิญญา อิงอาจ, ณัฐพร กาญจนภูมิ และ พรพรรณ เชยจิตร. (2563).ความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี.วารสารบริหารธรุกิจเทคโนโลยีมหานคร, 17(2) , 96-97
ฮูดา แวหะยี. (2563). การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา(นิพนธ์ต้นฉบับ). ยะลา. คณะวิทยาศาสตรเทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
World Health Organization (WHO), (1998). Coronavirus (Thailand): WHO Pulications.
María José González-Olmo , Bendición Delgado-Ramos , Ana Raquel Ortega-Martínez , Martín Romero-Maroto , María Carrillo-Díaz (2021). Fear of COVID-19 in Madrid. Will patients avoid dental care. National Library of Medicine.
Pascale SALAMEH ,Aline HAJJ , Danielle A BADRO , Randa AOUN , Hala SACRE (2020). Mental Health Outcomes of the COVID-19 Pandemic and a Collapsing Economy: Perspectives from a Developing Country, 17(3), 294.
Robinson Sabino-Silva, Ana Carolina Gomes Jardim, & and Walter L. Siqueira. (2020). Coronavirus COVID-19 impacts to dentistry and potential, 24:1619-1621.
Ya-LingLee, Hsiao-YunHu, Yung-FengYen, DachenChu, Nan-PingYang, Sin-YiChou, Shu-YiLin, Chao-Mei Chu, and Sheng-Jean Huang. (2021). Impact of the COVID-19 pandemic on the utilization of medical and dental services in Taiwan: A cohort study, 16(4): 1233-1240.
Robinson Sabino-Silva, Ana Carolina Gomes Jardim, & and Walter L. Siqueira. (2020). Coronavirus COVID-19 impacts to dentistry and potential, 24:1619-1621.
Ya-LingLee, Hsiao-YunHu, Yung-FengYen, DachenChu, Nan-PingYang, Sin-YiChou, Shu-YiLin, Chao-Mei Chu, and Sheng-Jean Huang. (2021). Impact of the COVID-19 pandemic on the utilization of medical and dental services in Taiwan: A cohort study, 16(4): 1233-1240.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-06-30 (2)
- 2022-06-30 (1)
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารทันตาภิบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล