ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการทันตกรรมของวัยทำงานในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด 2019) ในเขตเทศบาลตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • Wacharaphol Wiwat Thaopan -

คำสำคัญ:

การเข้ารับบริการทันตกรรม, วัยทำงาน, สถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการ
เข้ารับบริการทันตกรรมของวัยทำงาน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid 19 ในเขตเทศบาลตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 141 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ
เชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi square test, Fisher's exact test ที่ระดับนัยสำคัญ
ทางสถิติ 0.05

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.8 อายุเฉลี่ย 37.65 ปี ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เข้ารับบริการทันตกรรม ร้อยละ 41.8 การรับรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง ความวิตกกังวลในการรับบริการทันตกรรม ส่วนใหญ่ไม่มีความวิตกกังวล ร้อยละ 53.2 ซึ่งพบว่า ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการทางทันตกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.024) และอาการแสดงของโรคในช่องปาก คือ ปวดฟัน เสียวฟัน มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการทางทันต-กรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.029)

จากผลการวิจัยเสนอแนะให้มีการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการทันตกรรมของวัยทำงาน โดยลงพื้นที่เก็บข้อมูลในชุมชน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุม ครบถ้วน และศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้รายละเอียดของข้อมูลมากกว่าการศึกษาเชิงปริมาณ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.

วันที่ค้นข้อมูล 4 กรกฎาคม 2564, เข้าถึงได้จากhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no558-140764.pdf

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2562.

นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข.

กนกวรา พวงประยงค์. (2564). สถานการณ์ผลกระทบ ความต้องการการช่วยเหลือและการปรับตัวของคนวัยทำงานในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19: การศึกษาเชิงประจักษ์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(1), 266-286.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย. พ.ศ. 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากและพฤติกรรมทันตสุขภาพ ตามกลุ่มวัยจังหวัดสุรินทร์ ปี พ.ศ. 2563. วันที่ค้นข้อมูล 4 กรกฎาคม 2564,

เข้าถึงได้จาก http://group.surinpho.go.th/dental/2019/10/16/

Elfstrom. (2007). Self-reported dental coping strategies among fearful adult patients: preliminary enquiry explorations. European Journal of Oral Sciences, 115(6), 484-490.

สุนิสา หนูพูน. (2562). ปัจจัยที่มีผีลต่อการเลือกรับบริการทางด้านทันตกรรมของคลินิกทันตกรรม ทันตศิลป์.

วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (กลุ่มวิชาการเงิน) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Ninuk Haryani.(2021).Factors influencing the utilization of dental services in East Java, Indonesia.F1000Research.

วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี และคณะ. (2564). ทัศนมิติในการเข้ารับบริการทางทันตกรรมของผู้ป่วยในสภาวะแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโคโรนา ไวรัส (โควิด 2019) อําเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารทันตาภิบาล,

(1), 80-88.

จินตนา รัตนะ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้ารับบริการทันตกรรมในช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือน

ของหญิงตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลหลังสวน จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการสุขภาพช่องปากประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ฐิติ หนูราชและคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความวิตกกังวลในการรักษาทางทันตกรรมของ

กลุ่มวัยทำงานอายุ 35 - 44 ปี ในเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2(3), 29-43.

พัชรี อนุวรรณ์และคณะ. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความกลัวในการรับบริการทางทันตกรรมของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 34(4), 349-357.

จิราพร อ่อนสลุงและคณะ. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้ารับบริการทางทันตกรรม ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนหนองเรือ ตำบลหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น.

อุดมพร ทรัพย์บวร. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ ในเขตตำบลนคร

ชัยศรี. วารสารแพทย์ เขต 4-5, 37(4), 306-317.

จุฑาภรณ์ คำโยคและคณะ. (2558). ความต้องการรับบริการทันตกรรมและความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อ

การให้บริการของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันทันต

สาธารณสุขแห่งชาติ. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 2(2), 77-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)