สุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • Orawan Nammontri Sirindhorn College of Public Health Khon Kaen

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก, สภาวะช่องปาก, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก; ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากเป็นดัชนีชี้วัดทางทันตสังคมที่แสดงถึงคุณภาพชีวิตของบุคคลในการดำเนินกิจกรรมประจำวันที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่องปาก การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะช่องปาก พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 348 คน ในเขตตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลนอกเหนือจากการตรวจสุขภาพช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า

            กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 348 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 245 คน คิดเป็นร้อยละ 70.4 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยของอายุเท่ากับ 71.96 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของอายุเท่ากับ 8.01 สภาวะทันตสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีจำนวนฟันแท้ในช่องปากมากกว่าหรือเท่ากับ 20 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 45.7 มีจำนวนคู่สบที่นับรวมทั้งในรูปแบบของแท้คู่แท้ เทียมคู่เทียมและแท้คู่เทียมมากกว่าหรือเท่ากับ 4 คู่สบคิดเป็น ร้อยละ 38.2

กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง  ร้อยละ 55 เคี้ยวหมากและน้อยกว่า 16% สูบบุหรี่ การวัดดัชนีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของกลุ่มตัวอย่าง เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบพบว่า ความเจ็บปวดทางกายและความจำกัดในการทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 8.9 และ 5.5 ตามลำดับ

References

World Health Organization. 10 facts on ageing and health. 2017 [cited May 30, 2020]. Available from http://www.who.int/features/factfiles/ageing/en/

กรมสุขภาพจิต. 93 วันสู่สังคม"คนชรา" 5 จังหวัด คนแก่เยอะสุด-น้อยสุด. [ออนไลน์]. 2563 [อ้างเมื่อ 1

กุมภาพันธ์ 2565] จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30453

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. 2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. 2563 [อ้างเมื่อ 27 มกราคม 2565] จาก

https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275.

Razak PA, Richard KM, Thankachan RP, Hafiz KA, Kumar KN, & Sameer KM. Geriatric oral health: a review article. J Int Oral Health 2014; 6(6):110-116.

Ástvaldsdóttir Á, Boström AM, Davidson T, Gabre P, Gahnberg L, Sandborgh EG & Nilsson M. Oral health and dental care of older persons-A systematic map of systematic reviews. Gerontology. 2018; 35(4):290-304. doi:10.1111/ger.1236.

World Health Organization. Constitution of the World Health Organization. International Health Conference. 1948. 19-22 June; New York.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. วิทยพัฒน์ กรุงเทพฯ 2553.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2563). คลังข้อมูลสุขภาพ จังหวัดศรีสะเกษ. สืบค้น 3 มิถุนายน 2563, จาก https://ssk.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php

สุเทียน แก้วมะคำและอารีย์ แก้วมะคำ. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุติดบ้าน ในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร. 2561; 10(1):37-47.

Nammontri O. Validation of the Thai version of the 14- item oral health impact profile (Thai OHIP-14) amongst the general Thai adult population in a community setting. J Health Res. 2017; 31(6): 481-6. DOI: 10.14456/jhr.2017.59

Slade GD. Derivation and validation of a short-form oral health impact profile. Community Dent Oral Epidemiol. 1997 Aug;25(4):284-90. doi: 10.1111/j.1600-0528.1997.tb00941.x. PMID: 9332805.

สำนักทันตสาธารณสุข. รายงานผลสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8. กรมอนามัย 2561.

Batista MJ, Lawrence HP, de Sousa Mda L. Impact of tooth loss related to number and position on oral health quality of life among adults. Health Qual Life Outcomes. 2014 Nov 30;12:165. doi: 10.1186/s12955-014-0165-5. PMID: 25433483; PMCID: PMC4263115.

Imam AY. Impact of Tooth Loss Position on Oral Health-Related Quality of Life in Adults Treated in the Community. J Pharm Bioallied Sci. 2021 Nov;13(Suppl 2): S969-S974. doi: 10.4103/jpbs.jpbs_87_21. Epub 2021 Nov 10. PMID: 35017909; PMCID: PMC8686957.

กิตติคุณ บัวบาน. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพช่องปากกับคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ อำเภอแม่

ระมาด จังหวัดตาก.วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 2559; 16:45-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)