ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้เข้ารับบริการทันตกรรม โรงพยาบาลหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วรยา มณีลังกา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, การดูแลสุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้เข้ารับบริการทันตกรรม โรงพยาบาลหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ตาม Model PRECEDE Framework เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ณ ช่วงเวลาที่ทำการศึกษา  กลุ่มตัวอย่างคือผู้มารับบริการทันตกรรมโรงพยาบาลหนองเรือ จังหวัดขอนแก่นจำนวน 119 คน  ผู้รับบริการทันตกรรมส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 72.3 และ โดยมีอายุต่ำสุด 15 ปี และมีอายุสูงสุด 59 ปี มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 29.3ปี (S.D. =12.9) สถานภาพของผู้มารับบริการทันตกรรมส่วนใหญ่โสด ร้อยละ 51.3 อาชีพของผู้มารับบริการส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 35.3

ตัวแปรปัจจัยนำ ด้านความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก  ปัจจัยเอื้อ ด้านการเข้าถึงแหล่งบริการทันตกรรม  ปัจจัยเสริม ด้านการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมและการได้รับข้อมูลข่าวสารในการดูแลสุขภาพช่องปาก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้เข้ารับบริการทันตกรรม อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value ≥ 0.05)  ส่วนปัจจัยนำ ด้านเจตคติในการดูแลสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้เข้ารับบริการทันตกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value =0.001 ) ผู้ที่มีเจตคติต่อการดูแลสุขภาพช่องปากสูงจะมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากสูงเป็น 5.262 เท่าของผู้ที่มีเจตคติในการดูแลสุขภาพช่องปากต่ำ(ORadj = 5.262, 95%CI: 2.07-13.39)    ปัจจัยเอื้อ ด้านการมีอุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปากมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้เข้ารับบริการทันตกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.002) ผู้มีอุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปากมากจะมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากสูงกว่าเป็น 4.207  เท่าของผู้ที่มีอุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปากน้อย (ORadj = 4.207, 95%CI: 1.69-10.49)

References

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560 (ออนไลน์) 2561 (อ้างเมื่อ 2 มิถุนายน 2664 ) จาก http://dental2.anamai.moph.go.th/more_news.php?cid=273&filename=Surveillance

ธนาคม เสนา อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. ความรู้และทัศนคติที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2561, 1, 1, 106-117.

ศิริรัตน์ รอดแสวง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ในเขตตำบลทุ่งทอง อำเภหนองบัว จังหวดนครสวรรค์. วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ 786-797. (ม.ป.ป.).

ศิริพันธุ์ หอมแก่นจันทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. (ออนไลน์) 2559 (อ้างเมื่อ 2 มิถุนายน 2664 ) จากhttp://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5717035223_5267_3884.pdf.

ณฐพงศ์ คงใหม่ อุบลทิพย์ ไชยแสง สลิล กาจกำแหง นิวัติ ไชยแสง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2562, 2, 2, 26-42.

ทัศนวัฒน์ ฉายชูวงศ์ นิมมานรดี ชูยัง. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติกับสภาวะช่องปากและพฤติกรรมการดูแล ทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2563, 3,1, 52-67.

นัฐวุฒิ โนนเภา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารทันตาภิบาล. 2561, 29, 1, 26-35.

เพียรทอง มูลเทพ. การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (ออนไลน์) 2551 (อ้างเมื่อ 2 มิถุนายน 2664 ) จาก https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/236925

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)