ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลท่าคันโท อําเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • premruedee srisang Dental public health department,Sirindhorn College of Public Health, Khon Kaen Province

คำสำคัญ:

การรับรู้ความสามารถตนเอง, ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์

          วิธีการวิจัย การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลท่าคันโท          อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 155 คน โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่ กันยายน – ตุลาคม พ.ศ.2564 ระยะเวลา 2 เดือน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลคุณลักษณะทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวาน แบบสอบถามความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง และพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ                   ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน ใช้วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ และการรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยใช้สถิติ Multiple linear regression วิเคราะห์หาความสัมพันธ์แบบหลายตัวแปรและควบคุมตัวแปรอื่นร่วมด้วย

          ผลวิจัย ความสัมพันธ์ของความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ผลการศึกษาพบว่า ความรู้เกี่ยวกับด้านทันตสุขภาพที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับระดับต่ำ แตกต่าง เท่ากับ 0.50 คะแนน (95%CI: 0.06 - 0.40, p-value = 0.004) การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านทันตสุขภาพที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับระดับปานกลาง แตกต่างเท่ากับ 0.63 (95%CI: 0.43 – 0.82, p-value <0.001), การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านทันตสุขภาพที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับระดับต่ำ แตกต่างเท่ากับ 1.36 (95%CI: 0.62 – 2.10, p-value <0.001)

                สรุป ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูเเลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับด้านทันตสุขภาพ และการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านทันตสุขภาพ ทั้งนี้นำข้อมูลของการศึกษาไปส่งเสริมความรู้ การรับรู้ ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่ต่อไป

References

ศิริพันธ์ หอมแก่นจันทร์. ปัจจัยที่มมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559

ตวงพร กตัญุตานนท์ และคณะ. พฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มารับบริการโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลแหงหนึ่ง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ, 2559; 20(39): 15-29

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวานประชาชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย, 2560.

วัชราภรณ์ เสนสอน. โรคเบาหวานกับสุขภาพช่องปาก, วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2553; 13(2): 132-147.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. (2564). อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียน และมารับการรักษา ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ.วันที่ค้นข้อมูล. 1 กรกฎาคม 2564, เข้าถึงด้จาก Available from: https://hdc2.kalasin.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated%2Fformat1.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=e9fb648fe9f1858878714a410222eef1&fbclid=IwAR1Y_IiXPwQ7m5ekTPpClANbQK6XcFiU9QKoeDSo0mz5aN3Q3lRoXGVv2EM

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561).รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ.2560. วันที่ค้นข้อมูล 1 กรกฎาคม 2564, เข้าถึงได้จากhttp://dentalanamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=2423&filename=dental_health_survey

ศิริภา คงศรี. ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลสุขภาพช่องปาก ของผู้สุงอายุ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 2561; 2(1): 18-28.

ศุภศิลป์ ดีรักษา. ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองด้านทันตสุขภาพด้วยกิจกรรม ฐานการเรียนรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองทางทันตสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. วารสารทันตาภิบาล, 2563; 31(1): 165-184.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาสุขภาพเพื่อการวิจัย, 2552; กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์

กนกนุช เนตรงามทวี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตตำบลทุ่งทอง อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค. ในนเรศวรวิจัย, 2559; (12): 786-797.

เมธาวี นิยมไทย และสุพัฒนา คําสอน. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทันตสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลปลักแรด อําเภอบางระกํา จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2563; 29(1): 168-179.

ธนาคม เสนา และอมรศักดิ์โพธิ์อ่ำ. ความรู้และทัศนคติที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 2561; 1(1): 106-117.

Ayse Cinar, Inci Oktay และ Lone Schou. Self-efficacy Perspective on Oral Health Behaviour and Diabetes Management. Oral Health & Preventive Dentistry, 2012; 10(4): 379-87.

ศุภศิลป์ ดีรักษา, ศุภาวดี แถวเพีย และจตุพร เหลืองอุบล. ผลของโปรแกรมดูแลสุขภาพช่องปากด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงกระบวนการสนทนากลุ่มต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองทางทันตสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตพื้นที่ให้บริการสุขศาลาเทศบาลตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารทันตภิบาล, 2557; 25(2): 45-58.

สมพงษ์ หามวงค์ และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกุงเผือก อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2556; 28(4): 451-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)