การพานักเรียนประถมศึกษาเข้ารับบริการทันตกรรมโดยผู้ปกครอง

ผู้แต่ง

  • วัลลีรัตน์ พบคีรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การเข้ารับบริการทันตกรรม, เด็กวัยเรียน, โรคฟันผุ, สุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

โรคฟันผุเป็นโรคในช่องปากที่มีความสำคัญทางสาธารณสุข โดยเฉพาะเด็กวัยเรียน ชั้นประถมเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุสูง สามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก หลังจากนั้นจะมีการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งต้องได้รับการรักษาทางทันตกรรมอย่างเร่งด่วน ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาปัจจัยด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแล ใส่ใจในสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองที่มีความสัมพันธ์ต่อการพานักเรียนชั้นประถมเข้ารับบริการทันตกรรม โรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณแบบภาคตัดขวาง ตัวอย่างประชากรคือผู้ปกครองของเด็กวัยเรียนจำนวน 350 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมประมวลผลทางสถิติสำเร็จรูป วิเคราะห์ระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองในเด็กวัยเรียนชั้นประถม โดยวิธีหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากกับการพานักเรียนเข้ารับบริการทางทันตกรรมของผู้ปกครองในเด็กวัยเรียน โดยใช้ค่าสถิติการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่าผู้ปกครองมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก ร้อยละ 80 อยู่ในระดับสูง ด้านทัศนคติในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอยู่ในระดับสูงเช่นกัน ส่วนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยด้านทัศนคติและพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับการพานักเรียนเข้ารับบริการทางทันตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

เอกสารอ้างอิง

Al-Darwish M, El Ansari W, Bener A. Prevalence of dental caries among 12-14 years old children in Qatar. Saudi Dent J. 2014 ; 26(3):115-25. doi: 10.1016/j.sdentj.2014.03.006. Epub 2014 May 5. PMID: 25057232; PMCID: PMC4095054.

กองทันตสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2555; 2556 [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.anamai.ecgates.com/news/news_detail. detail.pdp .?id=760.

สุปรียา เครือสาร. การเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแล สุขภาพช่องปากและสภาวะช่องปาก ของเด็กวัยเรียนที่มารับบริการคลินิกทันตกรรมเด็กดีอย่างต่อเนื่อง และไม่ต่อเนื่องโรงพยาบาลหล่มสักจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารทันตาภิบาล. 2560; 28(2): 47-57.

กองทันตสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 พ.ศ.2560; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://dental2.anamai.moph.go.th/ main.php? filename=dental_health_survey.

วิภาพร ล้อมสิริอุดม, ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล. ความเชื่อและพฤติกรรมการบริโภคอาหารเกี่ยวกับโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย : กรณีศึกษาหมู่บ้านแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. วารสารทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 28 กรกฎาคม2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.dent.chula.ac.th/cudj/upload/article//file_full_0744.pdf

ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล, บรรณาธิการ. ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

วิกุล วิสาลเสสถ์, นนทินี ตั้งเจริญดี.คู่มือฟันสะอาด เหงือกแข็งแรง พิมพ์ครั้งที่ 1. สมุทรปราการ: บริษัท ซัมธิงอโบฟ จำกัด; 2560.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ.ทัศนคติ การวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียน สโตร์; 2556.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Education and Psychology Measurement. 1970; 30(3): 607-8.

Cronbach LJ. Essentials of Psychological Test. 5th ed. New York: Harper Collins; 1970.

อุฬาริกา โยสิทธิ์. พฤติกรรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนโดยผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

ปรียานุช งามพิกุล ณัฐวุฒิ พูลทอง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนอนุบาลเซกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ วารสารทันตาภิบาล 2562; 30 (2); 92-104.

Staberg M, Norén JG, Johnson M, Kopp S, Robertson A. Parental attitudes and experiences of dental care in children and adolescents with ADHD-a questionnaire study. Swed Dent J. 2014; 38(2): 93-100.

กิติศักดิ์ วาทโยธา. ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนอายุ 12 ปี เขตพื้นที่อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร [วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2561.

Hamasha AA-H, Rasheed SJ, Aldosari MM, Rajion Z. Parents Knowledge and Awareness of their Children’s Oral Health in Riyadh, Saudi Arabia. The Open Dentistry Journal. 2019; 13: 236 - 41.

Alshammari FS, Alshammari RA, Alshammari MH, et al. Parental Awareness and Knowledge toward their Children's Oral Health in the City of Dammam, Saudi Arabia. Int J Clin Pediatr Dent. 2021;14(1):100 - 103. doi:10.5005/jp-journals-10005-1894.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)