ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง ในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา วัฒนเสน -
  • สุนิสา มาม่วง
  • สุวนันท์ ไชยวุฒิ
  • มาลิกา นามทรรศนีย์

คำสำคัญ:

ปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริม, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย, ผู้ปกครอง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Descriptive study) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง และความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาล  สมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย จำนวน 137 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.71- 0.94  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์ Spearman  และ Chi-Square และ Odds Ratio

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยนำ ได้แก่ การมีอาชีพของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย โดยผู้ปกครองที่ประกอบอาชีพมีพฤติกรรมมีโอกาสในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กในระดับมากเป็น 2.07 เท่าของผู้ปกครองที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ (OR = 2.07; 95% CI 1.01 – 4.27, p-value=0.046) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ปกครองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (rs =0.18, p-value=0.030) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การเข้าถึงแหล่งบริการทันตสุขภาพและการเข้าถึงแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของผู้ปกครอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (rs = 0.33, p-value <0.00; rs = 0.29, p-value <0.001  ) ส่วนปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับคำแนะนำจากบุคคลใกล้ชิดและการได้รับข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ จากสื่อต่างๆ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = 0.24, p-value =0.005; rs = 0.28, p-value =0.001 )   ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ ควรให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กให้กับผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ด้านทันตสุขภาพผ่านช่องทางสื่อต่างๆ และมีการให้บริการทันตกรรมเชิงรุก

References

ธนนันท์ เพ็ชรวิจิตร,ชุติมา ไตรวัฒน์วรกุล. ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัท เบสท์ บุ๊คส์ ออนไลน์ จำกัด; 2554.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ:บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด, 2561.

สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์. ร้อยละเด็กกลุ่มอายุ 3 ปีมีฟันผุในฟันน้ำนม เขตสุขภาพที่ 7 จังหวัดกาฬสินธุ์. [ออนไลน์] 2563 [อ้างเมื่อ 2 กรกฎาคม 2564] จากhttps://ksn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=db30e434e30565c12fbac44958e338d5&id=e9f3192f523c79cbbbcf7b405e879384

กันทิมา เหมพรหมราช. พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองใน เขตนครชัยบุรินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร 2557; 22(3):58-68.

สมคิด ทิมสาด. คู่มือการพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: กองเวชกรรมป้องกัน กรมแพทย์ทหารเรือ; 2548.

นรลักขณ์ เอื้อกิจ และลัดดาวัลย์ เพ็ญศร. (2562). การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODEL ในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2562;12(1):38-48.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด; 2558.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2558). สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด;2558.

Bloom et al. Hand book on formative and summative evaluation of student learning. Mc Graw-Hill Book Company, NewYork;1971.

Best, J.W. Research in Education. New Jersey: Prentice – Hall; 1981.

ธนากร โตกิ่งแก้ว และรุจิรา ดวงสงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดนครราชสีมา. วารสารทันตาภิบาล 2559;27(1):

-62.

ณัฐธิดา พันพะสุกและคณะ. การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองกับสภาวะภาพช่องปากเด็ก 3–5 ปี ในอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล 2561;29(2):13-26.

ณฐพงศ์ คงใหม่ และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2562;2(2):26-42.

นฤชิต ทองรุ่งเรืองชัย และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันให้เด็ก 1-5 ปี ของผู้ปกครอง ในเขตอำเภอโนนสังข์ จังหวัดหนองบัวลำภู. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556;28(1): 16-22.

ปาริฉัตร ถาวรวงษ์. พฤติกรรมการดูแลช่องปากของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา 2564;1(2):69-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)