ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, ความเข้มแข็งในการมองโลก, สภาวะสุขภาพช่องปาก, คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก, ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ความเข้มแข็งในการมองโลก สภาวะสุขภาพช่องปากคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 270 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ความเข้มแข็งในการมองโลก ข้อมูลสภาวะสุขภาพช่องปาก และคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก (OHIP-14) ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ความเข้มแข็งในการมองโลกและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก เท่ากับ 0.73, 0.75 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ค่าความสอดคล้องในการตรวจฟันด้วยสถิติแคปปา มีค่า 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากโดยใช้ Multiple logistic regression กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากระดับปานกลาง ร้อยละ 69.26 ความเข้มแข็งในการมองโลกระดับปานกลาง ร้อยละ 64.07 ด้านสภาวะสุขภาพช่องปากพบจำนวนฟันแท้ในช่องปากมากกว่าหรือเท่ากับ 20 ซี่ ร้อยละ 71.48 ค่าเฉลี่ย 21.54 ซี่/คน คู่สบฟันหลังมากกว่าหรือเท่ากับ 4 คู่สบ ร้อยละ 53.70 ค่าเฉลี่ย 4.23 คู่สบ/คน มีการสูญเสียฟันตามดัชนีของอิชเนอร์แบบ A ร้อยละ 53.33 ไม่มีฟันโยก ร้อยละ 77.41 และค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 9.79 ซี่/คนคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 74.07 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ได้แก่ จำนวนฟันแท้ในช่องปาก (p-value = 0.009) การมีฟันโยก (p-value = 0.013) และความเข้มแข็งในการมองโลก (p-value = 0.036)
References
United Nation. World populations ageing 2020. New York: United Nations Digital Library System; 2020.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2562.
Knodel J, Chayovan N. Population ageing and the well-being of older persons in Thailand, papers in population ageing 5 UNFPA Thailand and country technical services team for East and South-East Asia. Bangkok: UNFPA Thailand; 2008.
กลุ่มส่งเสริมโภชนาการผู้สูงอายุ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. ตำรับอาหารบำรุงสมองผู้สูงอายุและอาหารผู้สูงอายุมีปัญหาการเคี้ยว. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์ จำกัด; 2562.
ศศิกร นาคมณี. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุต่อการใส่ฟันเทียมพระราชทานโรงพยาบาลบางปะกง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2561; 35(1): 30-9.
กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 9 ประเทศไทย พ.ศ. 2565-2566. กรุงเทพฯ: สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย; 2565.
กลุ่มรายงานมาตรฐานข้อมูลสภาวะสุขภาพช่องปาก ข้อมูลระดับจังหวัด : สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดบุรีรัมย์ [อินเทอร์เน็ต]. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์; 2567 [เข้าถึงเมื่อ 6 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/1
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=7041
Antonovsky A. The structure and properties of the sense of coherence scale. Social Science & Medicine. 1993; 36(6): 725-33.
วรพนิต ศุกระแพทย์, พรทิพา ทักษิณ, รณิดา ไชยสมิตรกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งในการมองโลกกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2564; 31(1): 189-98.
น้ำฝน สร้อยวงษา, สุบิน พัวศิริ, รัชฎา ฉายจิต. ความเข้มแข็งในการมองโลกกับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุไทย. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2565; 25(1): 23-32.
Locker D. Measuring oral health: a conceptual framework. Community Dent Health. 1988; 5(1): 3-18.
Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med. 1998; 17(14): 1623-34.
รถนา ไวยวาจี. ความสัมพันธ์ของสภาวะทันตสุขภาพและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในจังหวัดสระแก้ว. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2557; 19(2): 47-62.
Nammontri O, Robinson PG, Baker SR. Enhancing oral health via sense of coherence: a cluster-randomized trial. J Dent Res. 2013; 92(1): 26-31.
Nunnally JC. Psychometric Theory. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 1978.
Nammontri O. Validation of the Thai Version of the 14- Item Oral Health Impact Profile (Thai OHIP-14) amongst the General Thai Adult Population in a Community Setting. J Health Res. 2017; 31(6): 481-86.
Gera A, Cattaneo PM, Cornelis MA. A Danish version of the oral health impact profile-14 (OHIP-14): translation and cross-cultural adaptation. BMC Oral Health. 2020; 20(1): 254.
Williams B, Chang A, Landefeld C, Ahalt C, Conant R, Chen H. Current Diagnosis & Treatment: Geriatrics, 2e. New York: McGraw-Hill Education; 2014.
อารีย์ ภูมิประเสริฐโชค. สภาวะสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตด้านมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในคลินิกผู้สูงอายุ. พุทธชินราชเวชสาร. 2566; 40(3): 246-59.
อรฉัตร คุรุรัตนะ, ฐิติมา เดียววัฒนวิวัฒน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ ทันตสาธารณสุข จังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี. 2559; 10(2): 115-26.
Wilson IB, Cleary PD. Linking clinical variables with health-related quality of life. A conceptual model of patient outcomes. JAMA. 1995; 273(1): 59-65.
Antonovsky A. Unraveling the Mystery of Health: How People Manage Stress and Stay Well. San Francisco: Jossey-Bass. 1987; p.129-61.
Eriksson M, Lindström B. Antonovsky's sense of coherence scale and the relation with health: a systematic review. J Epidemiol Community Health. 2006; 60(5): 376-81.
ณภัทรพงษ์ หงษีทอง, ศิริพร คำสะอาด, รัชฎา น้อยสมบัติ, รัชนีกร สาวิสิทธิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการสูญเสียฟันตามดัชนีของอิชเนอร์กับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561; 21(1): 10-20.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล