การพัฒนาระบบการจัดการส่งเสริมทันตสุขภาพ ในนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตเทศบาลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ ศุกรเวทย์ศิริ ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสุรินทร์
  • นิรุวรรณ เทรินโบล์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุพิตรา เศลวัตนะกุล อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์

คำสำคัญ:

ฟันผุ, การพัฒนารูปแบบ, การส่งเสริมทันตสุขภาพ

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการ ส่งเสริมทันตสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนเมืองสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัด สุรินทร์ เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงจาก ห้องเรียนที่มีนักเรียนฟันผุเป็น จำนวนมากรวม 40 คน ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการและ ประยุกต์การวางแผนแบบมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้อำนวยการ ครูอนามัย ครูประจำชั้น ทันตบุคลากร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบ สัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบการตรวจทันตสุขภาพ แบบบันทึกการประชุม แบบทดสอบความรู้ เจตคติ การปฏิบัติตนในการดูแลทันตสุขภาพ และ สมุด พก “ฟ.ฟัน” วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบข้อมูลใช้สถิติเชิงอนุมานคือ Paired t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานทันตสุขภาพในโรงเรียนเมืองสุรินทร์ ที่ผ่านมา มีการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุขโดยครูอนามัย เป็นผู้ดำเนินการหลัก ปัญหาที่สำคัญคือ ขาดการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง จึงได้นำการวางแผนแบบมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้สอดคล้องกับบริบทของ โรงเรียนและมีผู้รับผิดชอบชัดเจน ส่งผลให้เกิดนโยบายการดำเนินงานทันต สุขภาพที่ชัดเจน และเกิดกิจกรรมที่นักเรียนเป็นผู้ดำเนินการคือ “คู่หูดูแลกัน ร่วมฝันฟันดี”และตรวจฟันตามนัด โดยใช้ กิจกรรม “สมุดพก ฟ.ฟัน” บันทึก การรับประทานอาหารที่เป็นอันตรายต่อทันตสุขภาพ อีกทั้งการมีส่วนเข้าไป ควบคุมการจำหน่ายอาหารที่เป็นอันตรายต่อทันตสุขภาพ มีกิจกรรมให้ความ รู้ทันตสุขภาพโดยนักเรียน ภายหลังการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานส่งเสริม ทันตสุขภาพในโรงเรียนครั้งนี้ พบว่า นักเรียนเป็นกลไกขับเคลื่อนกิจกรรม โดยมีครูเป็นผู้สนับสนุน ส่งผลให้นักเรียนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วม ในการดำเนินงานกว่าที่ผ่านมา ส่งผลให้นักเรียนมีปัญหาทันตสุขภาพลดลง ปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานในครั้งนี้มีนักเรียนเป็นกลไกสำคัญ โดยมีครูเป็นผู้สนับสนุน ภายใต้การจัดกิจกรรมที่มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย โดยมีเทคนิคและวิธีการที่แตกต่างไปจากเดิม และเน้นความสำคัญของการมี ส่วนร่วมในทุกขั้นตอน

References

1. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2549-2550ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสามทรัพย์เจริญจำกัด;2551.

2. กลุ่มงานทันตกรรมสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์. แผนงานทันตสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2554. จังหวัดสุรินทร์;2554.

3. อรรถวิทย์ สิงห์ศิลาแดง. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทันตสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองปรือคืมม่วง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา;2553.

4. สุรพล ณ รุณ. การพัฒนาการดำเนินงานกิจกรรมเฝ้าระวังทันตสุขภาพ โรงเรียนบ้านคำก้อม อำเภอสิรินธร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2546.

5. วิมลสิริ พรหมมูล. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนบ้านปราสาท ตำบลปราสาท กิ่งอำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2549.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)