ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ปุญญพัฒน์ วิฆเนศรังสรรค์ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขปฏิบัติงาน โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
  • วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ์ อาจารย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ภานุวัฒน์ ศรีโยธา อาจารย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กลวัชร บุตรี เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขปฏิบัติงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หนองสังข์ จังหวัดนครพนม
  • คณาธิป ศลาฆินหิรัณยกุล เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขปฏิบัติงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพุ่มแก นครพนม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ปัจจัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง (Descriptive cross-sectional research) นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 250 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Fisher’s exact test

ผลการศึกษา พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก พบว่า ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก ทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก และความเชื่อด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = <0.001, 0.011, 0.004 ตามลำดับ) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเอื้อกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก พบว่า อุปกรณ์ในการทำความสะอาดช่องปาก และการเข้าถึงแหล่งบริการทันตกรรม มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.011, 0.024 ตามลำดับ) และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก พบว่า การได้รับการสนับสนุนจากบุคคล การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.020, 0.003 ตามลำดับ) จากผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่าควรส่งเสริมให้ใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับสภาพช่องปาก สร้างเครือข่าย อสม. เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เปิดโอกาส ให้ อสม. ได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพัฒนาการทำงาน และสร้างช่องทางการสื่อสาร ที่สะดวก เช่น กลุ่มไลน์ กลุ่มเฟซบุ๊ก เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ อสม. ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2554.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ประเทศไทย พ.ศ. 2566. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟอคแอนด์ดีไซน์; 2567.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. รายงานการสำรวจข้อมูล งานบริการทันตกรรมและการอบรมการดูแลสุขภาพช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน. นครพนม: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอนาแก; 2565.

กลุ่มพัฒนาวิชาการและจัดการความรู้ สช. กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. กรม สบส. เพิ่มสาขาทันตสุขภาพ ในการคัดเลือก อสม. ดีเด่น ...เริ่มปี 2561. วารสารสุขภาพภาคประชาชน. 2560; 12(4): 2-3.

อรวรรณ ศรีเกิน, มิ่งขวัญ ภูหงษ์ทอง, พรรณิภา ไชยรัตน์. การพัฒนาแนวทางอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) ในการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2562; 1(2): 39-54.

รุ่งเพ็ชร บุญทศ, จริญาณี สวัสดี, จันทร์จิรา อุดมผล, ธัญชนก สงแจ้ง, ศิณารักษ์ บุญศิริ. ความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ความสามารถตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบ้านปึก อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี. วารสารทันตาภิบาล. 2563; 31(2), 65-76.

นิธินันท์ เจริญบัณฑิตย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

Green LW, Kreuter MW, Deeds SG, Partridge KB. Health education planning: A diagnostic approach (1st ed.). California: Mayfield Publishing Company; 1980.

Becker MH. The Health Belief Model and Personal Health Behavior. Health Education Monographs. 1974; (4)2: 324-508.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน; [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaiphc.net/new2020/cremation/tambon?year=2562&district=4807

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์. 2558.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. สถิติประยุกต์เพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.อุดรธานี: โรงพิมพ์อักษรศิลป์. 2554.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2550.

ศิริพรรณ หอมแก่นจันทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ การสร้างเสริมสุขภาพ]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2559.

สมจิตร จาอินต๊ะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารสุขภาพภาคประชาชน. 2560; 12(1): 30-5.

เบญจวรรณ บัวชุ่ม. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2563; 16(3): 49-58.

จักรี ปัถพี, นวลฉวี ประเสริฐสุข. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 2559; 9(3): 1190-205.

ภานุวัฒน์ พิทักษ์ธรรมากุล. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในชุมชนต้นแบบของเขตสุขภาพที่ 5. ราชบุรี: กลุ่มสุขภาพภาคประชาชนและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 5; 2565.

อรรณพร ผาเจริญ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของประชากร ก่อนสูงวัย (50-59 ปี) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2565.

ปรางค์ จักรไชย, อภิชัย คุณีพงษ์, วรเดช ช้างแก้ว. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในทีมหมอครอบครัว จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2560; 31(1): 16-28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)