ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาเพื่อการส่งเสริมการดูแลรักษาฟันปลอมทั้งปากของผู้สูงอายุ อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา จำปาสิม มหาบัณฑิต หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รุจิรา ดวงสงค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

complete denture, complete denture care promotion, self-efficacy theory, social support theory

บทคัดย่อ

          การสูญเสียฟันเป็นปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ เพราะทำให้การบดเคี้ยว อาหารบกพร่อง จึงต้องทดแทนโดยการใช้ฟันปลอม อย่างไรก็ดีอายุการใช้ งานของฟันปลอมก็ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาฟันปลอมของผู้สูงอายุ ปัญหาที่ พบบ่อยคือ ฟันปลอมแตกหรือหัก

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองและมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของการใช้โปรแกรมสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลรักษา ฟันปลอมของผู้สูงอายุ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามรถของตนเองร่วมกับ ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 78 คน แบ่งเป็นกลุ่ม ทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 39 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม สุขศึกษาระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ ประกอบด้วย การสนทนากลุ่ม การ บรรยายให้ความรู้ประกอบสื่อ การนำเสนอตัวแบบ การแจกคู่มือการดูแล รักษาฟันปลอม การสาธิต การฝึกปฏิบัติและการเยี่ยมบ้าน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยข้อมูลเชิงพรรณนาใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแจกแจงความถี่ การเปรียบเทียบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มได้แก่ สถิติ Paired Sample t-test และสถิติ Independent Sample t-test ตามลำดับ กำหนด ระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

          ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยว กับการดูแลรักษาฟันปลอม การรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังใน ผลลัพธ์ การปฏิบัติตัวในการดูแลรักษาฟันปลอมสูงกว่าก่อนเข้าร่วม โปรแกรมสุขศึกษาและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ผลของโปรแกรมสุขศึกษานี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกิจกรรมอื่นๆ ได้

References

1. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการทำฟันเทียมสำหรับผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2551.

2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. ข้อมูลรายงานสภาวะทันตสุขภาพผู้สูงอายุ: ขอนแก่น;2554.

3. โรงพยาบาลแวงน้อย. ข้อมูลทะเบียน Follow up หลังใส่ฟันปลอม (อ้างเมื่อ 30 กรกฏาคม 2555 ) :ขอนแก่น;2554.

4. Bandura A. Self – Efficacy : Toword Unifying Theory of Benavioral Change;1978.

5. House, J.S. Work Stress and Social Support. California: Addison Wesley Pub;1986.

6. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2551

7. Bandura. Social Learning Theory. Englewood Cliffs. New Jersey : Prentice-Hall;1997.

8. ฐิติพร ศิริบุรานนท์. ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุที่ได้รับการใส่ฟันเทียม.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยคริสเตียน;2554.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)