ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาเพื่อการส่งเสริมการดูแลทันตสุขภาพ ในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลแก้งคร้อ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
โปรแกรมทันตสุขศึกษา, การดูแลทันตสุขภาพ, ทฤษฎีแรงจูงใจ, แรงสนับสนุนทางสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของการใช้โปรแกรมทันตสุขศึกษาซึ่งประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อ ป้องกันโรคและทฤษฎีการสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์โรงพยาบาล แก้งคร้อ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 66 คน โดย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 33 คน กลุ่มทดลองได้รับ โปรแกรมทันตสุขศึกษา การดำเนินการใช้เวลา 12 สัปดาห์ ประกอบด้วย กิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การบรรยายประกอบสื่อ ตัวแบบ ภาพพลิก การสาธิต การฝึกปฏิบัติ และการอภิปรายกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความ ถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ของคะแนนด้วยสถิติ Paired Sample t-test และ Independent t-test โดย กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนน ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ การรับรู้ความรุนแรงของโรคฟันผุและโรค เหงือกอักเสบ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุและโรคเหงือก อักเสบ (การประเมินอันตราย) การรับรู้ความสามารถของตนต่อพฤติกรรม การดูแลทันตสุขภาพ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการดูแลทันตสุขภาพ ความตั้งใจที่จะปฏิบัติในการดูแลทันตสุขภาพ การปฏิบัติตัวในการดูแลทันต สุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว สูงกว่าก่อนการทดลอง และ สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางมีสถิติ (p-value < 0.001) และ หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีสภาวะเหงือกอักเสบน้อยกว่าก่อนทดลองและ น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)
References
2. Rogers, R. W. A protection motivation theory of fear appeals and attitude change. Journal of Psychology.1975;91, 93-114.
3. Rogers, R.W. Cognitive and physiological processes in fear appeals and attitude change: A revised theory of protection motivation. In J. Cacioppo & R. Petty (Eds.), Social Psychophysiology. New York: Guilford Press;1983.
4. Rogers, R. W. & Steven-Dunn.S. “Protection Motivation Theory”. Hand book of health behavior research 1 Personal and Social determinants. Edit by David S. Gochman. Plenum Press.1997. NewYork.
5. House J.S, D. Umberson, and K. R. Landis .Structures and process of social support. Annual Review of the Sociology of Religion.1988;14: 93-318 Copyright © 1988 by Annual
6. Cohen, S & Wills. Stress, social support, and the buffering hypothesis. Psychological Bulletin,1985;Vol 98(2), Sep 1985, 310-357.
7. Bloom, B.S., Hastings, J.T., & Madaus, G.F..Handbook on formative an summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill;1971.
8. สุขปราณี นรารมย์. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลินใน ตำบลหนองตูม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญา
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น;2552.
9. อรุณณีย์ ธงสวัสดิ์.ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนห้วยหว้าวิทยาคม ตำบลโนนฆ้อง อำเภอบ้านฝางจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2550.
10. เนื้อทิพย์ ศรีอุดร.การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคและแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมให้สตรีรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในเขตสถานีอนามัยสร้างติ่ว อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสารคาม;2550.
11. ปราณี แข็งแรง.ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่มีการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรงโรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการผดุงครรภ์ชั้นสูง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2552.
12. สุรวุฒิ แตงสาขา. การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดจินดาราม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต (สุขศึกษา),
สาขาวิชาสุขศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ;2551.
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล