ความรู้ การปฏิบัติ ความพึงพอใจในการควบคุมป้องกัน โรคขาดสารไอโอดีน ของประชาชนอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์ วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • จิรพงศ์ วสุวิภา นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลหัวทุ่ง อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรู้, การควบคุมป้องกัน, ความพึงพอใจโรคขาดสารไอโอดีน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ การปฏิบัติตัวและความพึง พอใจในการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของประชาชนในอำเภอพล จังหวัดขอนแก่นและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การปฏิบัติตัว กับ ความพึงพอใจในการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของประชาชนใน อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 377 ครัวเรือน เก็บข้อมูลโดย แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

          ผลการวิจัย พบว่า 1) ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ด้านการควบคุม ป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนระดับดีมาก ร้อยละ77.1 รองลงมาคือ ความรู้ด้าน ควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอยู่ในระดับดี ร้อยละ 21.0 2) ประชาชน ส่วนใหญ่มีระดับการปฏิบัติด้านการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ระดับดีมาก ร้อยละ 91.3 รองลงมาคือ มีการปฏิบัติในระดับดีร้อยละ 8.2 3) ประชาชนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรค ขาดสารไอโอดีนในระดับต้องปรับปรุง (ยังไม่น่าพอใจ) ร้อยละ 49.0 รอง ลงมาคือ มีความพึงพอใจในระดับดีร้อยละ 36.94) ผลการศึกษาด้านความ สัมพันธ์ระหว่างความรู้การปฏิบัติตัว และความพึงพอใจในการควบคุม ป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน พบว่า 4.1) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับการ ปฏิบัติตัวในการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนพบว่า ความรู้ไม่มีความ สัมพันธ์กับการปฏิบัติตัวในการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.071, p-value = 0.172)4.2) ความสัมพันธ์ ระหว่างความพึงพอใจกับการปฏิบัติตัวในการควบคุมป้องกันโรคขาดสาร ไอโอดีน พบว่า ความพึงพอใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติตัว ในการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05(r = 0.193, p-value <0.001) 4.3) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับความ พึงพอใจในการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน พบว่า ความรู้มีความ สัมพันธ์กับความพึงพอใจในการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05(r = 0.116, p-value น้อยกว่า0.05)

References

1. e-media/iodine/chapter2 มหาวิทยาลัยมหิดล. สถานการณ์โลก สถานการณ์การขาดสารไอโอดีนในประเทศไทย;2555.[ออนไลน์] [อ้างเมื่อ18กุมภาพันธ์ 2555] จาก http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/iodine/chapter2/world.html

2. สายพิณ โชติวิเชียร,ปิยนิตย์ ธรรมภรณ์พิลาศ,แสงโสม สีนะวัฒน์.การได้รับไอโอดีนจากแหล่งต่างๆ ของประชากรไทย รายงานวิจัยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ;2549.

3. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินการ ชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์;2554
4. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงาน การควบคุมและป้องกันการขาดสารไอโอดีน.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์;2554.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)