ความสุขและคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

ผู้แต่ง

  • พนมพร กีรติตานนท์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี

คำสำคัญ:

Happiness, Quality of life, Work place, Organizational pride, Work autonomy

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้ประเมินความสุขและคุณภาพชีวิตในการทำงานของ บุคลากรวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ของปัจจัยส่วนบุคคลกับความสุขและคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร โดยการสำรวจแบบภาคตัดขวางด้วยแบบสอบถามความสุขและคุณภาพชีวิต ในการทำงาน จากกลุ่มตัวอย่างอาจารย์/ข้าราชการ 56 คน และบุคลากรสาย สนับสนุน 42 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Pearson’s correlation ผลการวิจัยพบว่าโดยภาพรวมอาจารย์ ข้าราชการ และบุคลากร สายสนับสนุนส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิต (M = 4.34, SD = 0.76) และความสุข (M = 4.29, SD = 0.70) ในการทำงานอยู่ในระดับสูง ด้านคุณภาพชีวิตพบว่า มีความภาคภูมิใจในองค์กรอยู่ในระดับสูงสุด (M = 4.47, SD = 0.65) และมี ภาวะอิสระในการทำงานอยู่ในระดับต่ำสุด (M = 3.39, SD = 0.78) ด้านความ สุขในการทำงานพบว่ามากที่สุดคือมีความรักในงาน (M = 4.80, SD = 0.47) และพบว่าความสุขในการทำงานด้านที่น้อยที่สุด คือด้านการบริหารงานที่ให้ อิสระในการปฏิบัติงาน (M = 3.66, SD = 0.91) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่าคุณภาพชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอายุ (.34) และระยะเวลาการ ทำงาน (.42) ความสุขในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับอายุ (- 0.36) และระยะเวลาการทำงาน (- 0.24)

References

1. ชมพูนุท ศรีพงษ์. ทัศนคติ ของประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อการประยุกต์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตภายใต้บริบทสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน.ราชภัฎยะลา 2555;7(2):153-62.

2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.รายงานสถานการณ์ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย. เอกสารประกอบการประชุมประจำปี ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย, 6 กรกฎาคม 2550.

3. บุญจง ชวศิริวงศ์. Happy Workplace. พัฒนาสังคม. 2550;9(2):61-93.

4. Herzberg K. Frederick. The Motivation to work. New York : John Wiley and Sons;1959.

5. Maslow AH. Motivation and personality. New York: Harper Collins;1954.

6. Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Edu Psych Mea. 1970;30: 607-10.

7. Bemb H. Happiness in transition: An empirical study on Eastern Europe. Eco Sys 2007;2(31):204-11.

8. รัชนี หาญสมสกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงาน ลักษณะงานกับความสุขในการทำงานของบุคลากรพยาบาลประจำสถานพยาบาลสังกัดกรมราชทัณฑ์. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2550.

9. Oliver JPL. et al. Quality of life and mental health service. London: Routledge;1996.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)