ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันแห้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ์ อาจารย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นฤพร ชูเสน ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด
  • รัฐติภรณ์ ลีทองดี อาจารย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กรรณิการ์ อินทร์บุตร นักวิชาการทันตสาธารสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไหน่ จังหวัดเชียงใหม่
  • พิมพกานต์ สวยงาม นักวิชาการทันตสาธารสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยป่าซาง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการแปรงฟัน, การแปรงฟันแห้ง, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันแห้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง 218 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันแห้ง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.703 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ Chi-square และ Fisher’s exact test

ผลการศึกษา พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 16.3 ปี (S.D. = 0.9) เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.1 ส่วนใหญ่อยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 45.4 รายได้บิดา/มารดา(รวมกันเฉลี่ยต่อเดือน) ส่วนใหญ่ อยู่ที่ 19,575.1 บาท คิดเป็นร้อยละ 17.0 นักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 71.1 การไปพบทันตบุคลากรส่วนใหญ่เข้าพบมากกว่า 1 ปี ร้อยละ 69.3 พฤติกรรมการแปรงฟันแห้งของนักเรียนส่วนใหญ่แปรงฟันแห้ง ร้อยละ 64.7 และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการแปรงฟันแห้งของนักเรียนกับระดับชั้น และการไปพบทันตบุคลากรมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.042 และ 0.004 ตามลำดับ)

จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การไปพบทันตบุคลากรมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ดังนั้นทันตบุคลากรควรให้ทันตสุขศึกษาแก่ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะเรื่องการแปรงฟันแห้งอย่างต่อเนื่อง

References

โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย 4. “โรคฟันผุในเด็ก” ปัญหาเล็ก ๆ ที่อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4/Clinic/Details/%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%8A

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2561.

ฝ่ายทันตกรรม โรงพยาบาลพนมไพร. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพตามกลุ่มวัยอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลพนมไพร; 2564.

จิติมา เอื้อรัตนวงศ์, ดลหทัย สิทธิพงษ์พร. การศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับการแปรงฟันแห้ง และปัจจัยที่มีผลต่อความเข้าใจวิธีการแปรงแห้งของผู้รับบริการทางทันตกรรมในโรงพยาบาล วชิรพยาบาล. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2565; 66(5): 311-20.

พรศรี ปฏิมานุเกษม, ทัชชา ทรรปณ์จินดา, ธนพล รี้พลมหา. ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำลายหลังการแปรงฟัน โดยบ้วน และไม่บ้วนปาก. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2555; 17(2): 109-16.

Sjögren K, Birkhed D. Effect of various post-brushing activities on salivary fluoride concentration after toothbrushing with a sodium fluoride dentifrice. Caries Res. 1994; 28(2): 127-31.

สุดาดวง กฤษฎาพงษ์. แปรงแห้ง. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560; 26 ฉบับเพิ่มเติม 2: 348-59.

Machiulskiene V, Richards A, Nyvad B, Baelum V. Prospective study of the effect of post-brushing rinsing behaviour on dental caries. Caries Res. 2002; 36(5): 301-7.

บุหงา ชัยสุวรรณ, พรพรรณ ประจักษ์เนตร. พฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ของวัยรุ่นอายุระหว่าง 10-19 ปี. วารสารการสื่อสารและการจัดการ. 2558; 1(1): 31-57.

Porter CM. Revisiting Precede–Proceed: A leading model for ecological and ethical health promotion. Health Education Journal. 2016; 75(6): 753-64.

ศุภกร ศิริบุรี, พันพัสส์ ปาระมี. การพัฒนารูปแบบการฝึกแปรงฟันในเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น โรงเรียนการศึกษคนตาบอดแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร. 2561; 10(1): 103-11.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2553.

Likert R. New Patterns of Management. McGraw-Hill; 1961.

Best JW. Research in education. 4th ed. New Jersey: Prentice-Hall; 1981.

บุญชัช เมฆแก้ว. การพัฒนาชุดช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ (KR-20). รายงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. พังงา: วิทยาลัยชุมชนพังงา สถาบันวิทยาลัยชุมชน; 2563.

วรเมธ สุขพาสันติ, มานพ คณะโต. การแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนของเด็กนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดหนองบัวลําภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2559; 4(1): 113-26.

เบญญาภา ผิวนวล, ขวัญวิภา เวทการ, ปริญญา จิตอร่าม, ธนกฤต ธนวงศ์โภคิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันในช่วงพักกลางวันที่โรงเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสุพรรณบุรี. วารสารทันตาภิบาล. 2562; 30(1): 15-28.

ศิริพร คุยเพียภูมิ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากของนักเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนนครวิทยาคม ตำบลสันมะเค็ด อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2555.

วรเมธ สุขพาสันติ, มานพ คณะโต, พูนรัตน์ ลียติกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่ โรงเรียนของเด็กนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายในจังหวัดหนองบัวลำภู. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559: 31(2): 169-77.

วรรธนะ พิธพรชัยกุล, เสมอจิต พิธพรชัยกุล, ทรงชัย ฐิตโสมกุล, อังคณา เธียรมนตรี, นุชนรี อัครชนียากร, นงนุช อาคาสุวรรณ และคณะ. กิจกรรมการแปรงฟันและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดสงขลา ประเทศไทย. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์. 2552; 59(3): 190-99.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)