ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากบทคัดย่อ
สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพราะต้องได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากจากผู้ดูแล ซึ่งบทบาทของผู้ดูแลสามารถตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ ผู้วิจัยจึงสนใจทำงานวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ โดยวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ดำเนินการระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลหลัก ที่ทำหน้าที่ให้การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่ ในอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 161 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยวิเคราะห์หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่าดัชนี IOC ระหว่าง 0.67-1 และวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’ alpha coefficient) ได้ค่าระหว่าง 0.75-0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวม ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 48.40 ((x̄) = 26.03, S.D. = 5.50) ส่วนใหญ่ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ในการทำความสะอาดช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ((x̄) = 2.39, S.D. = 0.75) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ดูแลผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก (B = 0.14, p <0.001) และทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (B = 0.29, p = 0.001) ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 51.5 (R2 = 0.51) ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ควรมีการออกแบบกิจกรรมในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก และทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อให้ผู้ดูแลมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ดีต่อไป
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี พ.ศ.2565. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน).
กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุประเทศไทย พ.ศ. 2564. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงจันทร์การพิมพ์.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ: ช่องปากสุขี. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำกัด.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียง : คู่มือสำหรับครอบครัวผู้ดูแล. กรุงเทพฯ: แก้วเจ้าจอม.
กนกวรรณ งามมุข, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. การดูแลความสะอาด ช่องปากในผู้ป่วยวิกฤตเพื่อป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ: การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์. วชิรสารการพยาบาล. 2559; 18(2): 1-11.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ประเทศไทย พ.ศ. 2566. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์. ผลการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิ. คลังข้อมูลสุขภาพจังหวัดเพชรบูรณ์ (HDC). [เข้าถึงเมื่อ 1 ต.ค. 2566]. เข้าถึงจาก: https://pnb.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=db30e434e30565c12fbac44958e338d5
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบึงสามพัน. รายงานจำนวนผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ผ่าน การอบรม และจำนวนผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่ได้รับการดูแลปี พ.ศ.2566. เพชรบูรณ์: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบึงสามพัน; 2566.
อาณัติ มาตระกูล, จรัญญา หุ่นศรีสกุล, อัจฉรา วัฒนาภา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการทำความสะอาดช่องปากผู้สูงอายุติดเตียงโดยผู้ดูแล ในจังหวัดกระบี่. เอกสารที่นำเสนอ ในการประชุม: การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับนานาชาติ 2560; วันที่ 10 มี.ค. 2560; ณ อาคารพจน์ สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี 2557. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
รัถยานภิศ พละศึก, เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช. ตัวแบบของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560; 4(3): 135-50.
Daniel WW. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. New York: John Wiley & Son; 2010.
สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2559; 9(3): 57-69.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2566; 16(2): 9-17.
ศิวพร ชุ่มเย็น, ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามบทบาทการทำงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2566; 34(1): 158-71.
ตยารัตน์ พุทธิมณี, รุ่งนภา ป้องเกียรติชัย. ความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้สูงอายุโรคใตเรื้อรัง และผู้ดูแล. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 2565; 9(2): 16-32.
ฉัตรฤดี ภาระญาติ, สุธิดา ธีระพิทยานนท์, รุจาภา เจียมธโนปจัย, อุทัยวรรณ เธียรไฝ่ดี. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของผู้ดูแลผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2564; 13(1): 43-51.
มิ่งสมร กิตติธีรนันท์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุติดเตียง โดยผู้ดูแลในอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2564; 2(2): 69-7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล