การเข้าถึงบริการทันตกรรมและสภาวะทันตสุขภาพของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การเข้าถึงบริการทันตกรรม, สภาวะทันตสุขภาพ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาระดับการเข้าถึงบริการทันตกรรม สภาวะทันตสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้าถึงบริการของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวนตัวอย่าง 209 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยวิเคราะห์ค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) (อยู่ในช่วง 0.67-1.00) และค่าความเที่ยง (Reliability) ด้วยการหาค่า Cronbach’s alpha coefficient ได้เท่ากับ 0.820 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป STATA For Windows สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ สถิติการถดถอยพหุโลจิสติก
ผลการวิจัย พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.64 อายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 43.54 (เฉลี่ย 39.78 ปี, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.81) รายได้ระหว่าง 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 39.23 (เฉลี่ย 18,231.61 บาท, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8834.58 ) ระดับการศึกษาสูงสุด จบปริญญาตรี ร้อยละ 46.63 มีสถาะภาพสมรสคู่ ร้อยละ 59.81 เป็นตำแหน่งข้าราชการ ร้อยละ 63.64 ระยะเวลาปฏิบัติงาน ระหว่าง 1-10 ปี ร้อยละ 49.76 (ค่าเฉลี่ย 10.27 ปี, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.20), ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 85.65, โรคประจำตัวที่พบ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไธรอยด์ หอบหืด ภูมิแพ้ เป็นต้น
ตัวอย่าง มีการเข้าถึงบริการทันตกรรม ในระดับสูง ร้อยละ 49.76 และระดับปานกลาง ร้อยละ 44.98 ทราบสภาวะช่องปากของตนเอง ร้อยละ 16.27 สิทธิการรักษาทางทันตกรรมหรือทำฟันใช้สวัสดิการข้าราชการ มากที่สุด ร้อยละ 48.80 การไปใช้บริการทันตกรรมในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 48.80 สถานบริการที่ไปใช้บริการทันตกรรมบ่อยที่สุด คือ โรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 98.04
ปัจจัยด้านระดับการศึกษาและ ด้านระยะทางจากบ้านถึงสถานบริการทันตกรรมที่ไปใช้บริการประจำ มีความสัมพันธ์ต่อการเข้าถึงบริการของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอห้วยเม็ก โดย ตัวอย่างที่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีการไปใช้บริการทันตกรรม มากเป็น 2.04 เท่าของผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี (ORadj = 2.04, 95%CI = 1.01 ถึง 4.09) และ ตัวอย่างที่มีบ้านห่างจากสถานบริการทันตกรรมที่ไปใช้บริการประจำ (น้อยกว่าเท่ากับ 7 กิโลเมตร) มีการใช้บริการทันตกรรม น้อยกว่าผู้มีบ้านห่างจากสถานบริการทันตกรรมที่ไปใช้บริการประจำ (มากกว่า7 กิโลเมตร) เป็น 0.31 เท่า (ORadj = 0.31, 95%CI = 0.17 ถึง 0.58)
References
รพิภรณ์ พิพัฒน์ศาสตร์. ประสิทธิผลโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากต่อการรับรู้ความสามารถตนเอง ความรู้ด้านทันตสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา [วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2562.
วิไลลักษณ์ ทิวากรกฎ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพช่องปากวัยทำงาน อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2560; 3(3): 237-49.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2561.
Bashirian S, Seyedzadeh-Sabounchi S, Shirahmadi S, Soltanian A, Karimi-shahanjarini A,Vahdatinia F. Socio-demographic determinants as predictors of oral hygiene status and gingivitis in schoolchildren aged 7-12 years old: A cross-sectional study [Internet]. 2018 [cited 2019 Jul 21]. Available from: https://doi.org/10.1371/journal.pone.0208886
มารุต ภู่พะเนียด และสุวิทย์ คุณาวิศรุต. ปัจจัยทางสังคมและพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะ สุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียน. วารสารราชพฤกษ์. 2562; 17(3): 75-82.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดโดน อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานประจำปี 2563. กาฬสินธุ์: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดโดน; 2564.
อรุณ จิรวัฒน์กุล . สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2556.
สุภาพร แสงอ่วม, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์, ภูดิท เตชาติวัฒน์, ชญานินท์ ประทุมสูตร, กันยารัตน์ คอวนิช. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย. เชียงใหม่ทันตแพทยสาร. 2558; 36(1): 53-61.
Best JW. Research in Education. 3rd ed. India, New Delhi: Prentice Hall, Inc.; 1978.
วิไลลักษณ์ ทิวากรกฎ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพช่องปากวัยทำงาน อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2560; 36(4): 237-49.
เพิ่มรัตนะ สรีระเทวิน. การเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารทันตาภิบาล. 2562; 30(1): 151-66.
วิชุดา สาธิตพร. นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: พัฒนาการ แนวโน้ม และการสำรวจมาตรฐานด้านสุขภาพของไทย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 2554; 9(3): 1-18.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารทันตาภิบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล