การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านเฉนียง ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • จันทร์เพ็ญ เกสรราช นักศึกษาหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • นิรุวรรณ เทรินโบล์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุพัตรา วัฒนเสน วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษด้านการสอน วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

สุขภาพช่องปาก, รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก, เด็กก่อนวัยเรียน

บทคัดย่อ

           การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านเฉนียง ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่าย ได้แก่ บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเฉนียง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลเฉนียง กรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และพระสงฆ์วัดบ้านเฉนียง จำนวน 210 คน ดำเนินการวิจัยระหว่าง มกราคม ถึง พฤษภาคม 2557 เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยแบบสอบถามวัดความรู้ เจตคติและการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองรวมทั้งตรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของเด็ก และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาพษณ์เจาะลึกและการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติ Paired Sample t-test  ในการเปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการพัฒนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการพัฒนาครั้งนี้ ได้กำหนดมาตรการสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ส่งเสริมให้เด็กเล็กฟันสะอาดด้วยการแปรงฟันที่บ้านและที่ศูนย์เด็กเล็ก 2) ควบคุมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อโรคฟันผุโดยให้เป็นศูนย์เด็กเล็กปลอดขวดนมและขนมที่เป็นโทษต่อฟัน 3) พัฒนาศักยภาพชุมชนในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กและ 4) การเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กเล็ก และพบว่า ครู ผู้ปกครองและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมและมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากของเด็กในระดับสูง ผู้ปกครองมีความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อนามัยช่องปากเด็กสะอาดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และการประเมินผลตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพในด้านที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่องปากผ่านเกณฑ์

          ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเกิดจากการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กโดยผู้ปกครองที่บ้าน (Home:H) ครูและเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (Child Centre : C) ความร่วมมือในการสร้างมาตรการและการสนับสนุนการดำเนินงานของชุมชน (Community Co-operation : C) และการสนับสนุนจากวัด (Temple Support : T) ได้รูปแบบ เรียกว่า บ้านศูนย์เด็กเล็ก ชุมชนวัดโมเดล: HCCT- Oral Health Model (Home: Child Center : Community: Temple)

References

1. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประเทศไทย พ.ศ. 2549 – 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2551.

2. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2556.

3. ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากศูนย์อนามัยที่ 5 และจังหวัดเขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 14 พ.ศ. 2555. นครราชสีมา;2556.

4 กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. สรุปผลการสำรวจสภาวะช่องปากตามกลุ่มอายุ ปี 2555. จังหวัดสุรินทร์;2555.

5 กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. รายงานผลการสำรวจสภาวะช่องปากตามกลุ่มอายุ ปี 2556. จังหวัดสุรินทร์;2556.

6. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือมาตรฐานศูนย์เด็กเล็ก .พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2556 : สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย;2556.

7. พิกุลพร ภูอาบอ่อน. การพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒยาเด็กเล็กโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ตำบลหนองผือ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

8. วันเพ็ญ มีสัตย์. การพัฒนาระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพโดยครอบครัวเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกโดง ตำบลไพล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2556.

9. อนันตยา พลสักขวา.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 3 ปี ในและนอกเขตเทศบาลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2549.

10. จันทร์เพ็ญ เกสรราช และคณะ.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา. ภาคนิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น;2554.

11. จอนสัน พิมพิสาร และวิไลวรรณ ทองเกิด. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลทันตสุขภาพเด็กเล็ก อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2551;13(3):71-81.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)