การประเมินและพัฒนารูปแบบพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ สบช.โมเดล (ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี)

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศิริ ทานให้ อาจารย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ธรินธร นามวรรณ รองศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • กาญจน์ เรืองมนตรี ผู้ช่วยศาตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สฤษดิ์ ผาอาจ อาจารย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา คณะสาธารณสุขศาสตร์ และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การประเมินและพัฒนารูปแบบ, การประยุกต์ใช้ สบช.โมเดล (ปิงปอง 7 สี), พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) เพื่อศึกษาการประเมินและพัฒนารูปแบบพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ สบช.โมเดล (ปิงปอง 7 สี) ในกลุ่มนักศึกษา จำนวน 150 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย
1) เครื่องมือจัดการเชิงผลลัพธ์ 2) แบบทดสอบความรู้พฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติอนุมาณและการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา ระยะที่ 1 สถานการณ์พฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีค่าดัชนีมวลกายสมส่วน นักศึกษาประเมินตนเองว่าพฤติกรรมที่นักศึกษาส่วนใหญ่ปฏิบัติไม่ได้ คือ การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการควบคุมน้ำหนัก ตามลำดับ สาเหตุของการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ มาจากการขาดกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพที่เหมาะสมและสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาพฤติกรรมที่ดี ระยะที่ 2 การดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษา เช่น การตรวจสุขภาพประจำปี และการให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p-value <0.001) อีกทั้งโครงการ Green & Clean public health ช่วยส่งเสริมการลดปริมาณขยะ และเกิดนวัตกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่นโครงการ My glass ช่วยสร้างพฤติกรรมที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมในวิทยาลัยฯ ระยะที่ 3 การประเมินผล พบว่า นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพส่งผลให้มีเครือข่ายนักศึกษาในการดำเนินกิจกรรม ทำให้ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคต่าง ๆ รวมทั้งลดการใช้ทรัพยากร และขยะลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) นอกจากนี้ยังได้เกิดรูปแบบจากการพัฒนานำไปสู่เป้าหมายเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพ ลดโรค ลดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อมในวิทยาลัย

References

สถาบันพระบรมราชชนก. คู่มือการส่งเสริมสุขภาพด้วย สบช. โมเดล (ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

World Health Organization. Global Health Risks: Mortality and burden of disease attributable to selected major risks. Geneva: WHO Press; 2021.

Smith A, Jones B. The impact of comprehensive health behavior promotion on college students' health outcomes. Journal of Health Promotion. 2019; 45(3): 123-34.

วิชัย เทียนถาวร, วณิชา ชื่นกองแก้ว, วสุธร ตันวัฒนกุล, พยงค์ เทพอักษร. การพัฒนาวิจัยและนวัตกรรมสุขภาพด้านการส่งเสริมและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังภายใต้ โครงการสร้างชุมชนสุขภาวะด้วย สบช. โมเดล 2022: 1 วิทยาลัย 1 ชุมชน เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (2565-2567). วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2565; 5(2): 187-94.

Kemmis S, McTaggart R. The Action research planner. 3rd ed. Geelong: Deakin University; 1988.

เฉลิมชัย เอื้อวิริยะวิทย์. Nudge Theory ทฤษฎี Nudge เป็นแนวคิดที่ยืดหยุ่นและทันสมัยสำหรับ: [อินเทอร์เน็ต]. 2021 [เข้าถึงเมื่อ 14 ต.ค. 2567]. เข้าถึงจาก: https://chai56.medium.com/nudge-theory-70169762fadd

ภูริชา พัชรธรภากุล. การบูรณาการการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพ ภายใต้การดำเนินชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสังสงยาง ตำบลสะอาดสมบูรณ์ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. การประชุมวิชาการวันหมออนามัยแห่งชาติ. วันที่ 13-14 กันยายน 2563. ปทุมธานี: สมาคมหมออนามัย; 2563. หน้า 1-13.

ศิริเนตร สุขดี. การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน. [ปริญญานิพนธ์ การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์] กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2560.

เพ็ญศิริ ทานให้. นักศึกษาทันตสาธารณสุขกับบทบาทในการควบคุมการบริโภคยาสูบป้องกันนักสูบหน้าใหม่. วารสารทันตาภิบาล. 2563; 31(2): 90-106.

Hatfield DP, Sharma S, Bailey CP, Bakun P, Hennessy E, Simon C, et al. Implementation of nutrition and physical activity-related policies and practices on college campuses participating in the Healthier Campus initiative. Journal of American College Health. 2022; 72(4): 1192-99.

Cunningham-Sabo L, Tagtow A, Mi S, Engelken J, Johnston K, Herman DR. Partnerships and Community Engagement Key to Policy, Systems, and Environmental Achievements for Healthy Eating and Active Living: a Systematic Mapping Review. Prev Chronic Dis. 2022; 19: E54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)