ผลของโปรแกรมดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการเรียนรู้เชิงกระบวนการสนทนากลุ่มต่อพฤติกรรม การดูแลตนเองทางทันตสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตพื้นที่ให้บริการ สุขศาลาเทศบาลตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
เบาหวาน, โปรแกรมดูแลสุขภาพช่องปาก, กระบวนการสนทนากลุ่มบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของโปรแกรม ดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการเรียนรู้เชิงกระบวนการสนทนากลุ่มต่อ พฤติกรรมการดูแลตนเองทางทันตสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่ง ทำการศึกษาในพื้นที่เทศบาลตำบลท่าคนโท อำเภอท่าคนโท จังหวัด กาฬสินธุ์ รูปแบบเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ในกลุ่มต่วอย่าง 2 กลุ่ม จำนวน 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 31 คน ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ โดยกลุ่มทดลองได้รับ โปรแกรมดูแลสุขภาพช่องปาก ด้วยการใช้ ชุดกิจกรรมการให้ความ รู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและสุขภาพช่องปาก กิจกรรมสนทนากลุ่ม กิจกรรมชุดอัญชันฟันสะอาด การสาธิตตลาดสุขภาพโดยแบ่งเป็น ฐานการเรียนรู้ และการเยี่ยมบ้านโดยผู้วิจัยและทีมสหวิชาชีพ เก็บ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้โรคเบาหวานและสุขภาพ ช่องปาก แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองและ สุขภาพช่องปาก แบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติในการดูแล ตนเองและการดูแลสุขภาพช่องปาก และแบบบันทึกการตรวจดัชนี คราบจุลินทรีย์ในช่องปาก ข้อมูลที่ได้นำไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ พรรณนาด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบค่าที (t-test) โดยใช้ สถิติที่เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระ จากกัน (Paired t-test) และสถิติที่เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent t-test)
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่า เฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและสุขภาพช่องปาก การรับรู้ความสามารถตนเองในการดูแลตนเองและการดูแลสุขภาพ ช่องปาก และพฤติกรรมการปฏิบัติในการดูแล ตนเองและการดูแลสุขภาพช่องปาก มากกว่ากลุ่ม เปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) มีคราบจุลินทรีย์ในช่องปากลดลงกว่ากลุ่ม เปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)
โดยสรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการวิจัย ครั้งนี้ พบว่า โปรแกรมดูแลสุขภาพช่องปาก ทำให้เกิดความเข้าใจบริบทของชุมชน ผู้ป่วยเบาหวาน และเจ้าหน้าที่ให้บริการสุขศาลา ด้วยกระบวนการ สนทนากลุ่มเพื่อการมีส่วนร่วมในการดูแลทันตสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน
References
2. กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลสถิติอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวาน. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2555.
3. อุบล แก้วพรม. เอกสารรายงานเรื่องข้อมูลสถิติรายงานผู้ป่วยโรงพยาบาลท่าคันโท ประจำปี 2551-2555. โรงพยาบาลท่าคันโท;2555.
4. ศุภศิลป์ ดีรักษา. เอกสารรายงานเรื่องสภาวะทางทันตสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานประจำปี 2555. โรงพยาบาลท่าคันโท;2555.
5. วัชราภรณ์ สอนเสน, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา และเสาวนันท์ บำเรอราช. โรคเบาหวานกับสุขภาพช่องปาก. ว.ทันต.ขอนแก่น 2553. 13(2);132-46.
6. เสาวภา วิชาดี. รูปแบบการเรียนของผู้เรียนในมุมมองของทฤษฎีการเรียนรู้แบบประสบการณ์. Exclusive Journal 2554:175-180.
7. ขวัญเรือน ทิพย์พูล. ผลของโปรแกรมการประยุกต์การจัดการและแรงสนับสนุนทางสังคมร่วมกับกระบวนการกลุ่มเพื่อการดุแลผู้ป่วยเบาหวานในระบบบริการปฐมภูมิ กรณีศึกษา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2553.
8. สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2553.
9. วัชราภรณ์ ภูสีเขียว. ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการกำกับตนเองร่วมกับทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการพัฒนาพฤติกรรมการลดน้ำหนักของข้าราชการ อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยขอนแก่น;2552.
10. พร้อมจิตร ห่อนบุญเหิม. ทฤษฎีการพยาบาลโอเร็ม:แนวคิดและการประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาสารคาม:อภิชาตการพิมพ์;2553.
11. Karikoski A., Murtomaa H. and llanne-Parikka P. Assessment of Periodontal Treatment Needs Among Adults With Diabetes In Finland. International Dental Journal 2011; 52(2):75-80.
12. อิสริยาภรณ์ สุรสีหเสนา. ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยเบาหวานหมู่บ้านโสก อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2553.
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล