ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาร่วมกับการใช้สื่อประสมช่วยสอน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและ โรคเหงือกอักเสบในนักเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
สื่อประสมช่วยสอน, ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาร่วมกับการใช้สื่อประสม ช่วยสอนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและโรค เหงือกอักเสบในนักเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างจำนวน 76 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 37 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 39 คน ระยะเวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยสถิติ Paired Sample t-test และ Independent t-test สำหรับสื่อประสมช่วยสอนเป็นสื่อกลางของการเรียนรู้กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษา ประกอบด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อการจัดกิจกรรมกลุ่มการ สาธิตและฝึกปฏิบัติการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธีร่วม กับแรงสนับสนุนทางสังคมจากครูประจำชั้นผู้ปกครองและผู้วิจัย ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนน เฉลี่ยของด้านความรู้โรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ การรับรู้ความ รุนแรงต่อการเกิดโรคฟันผุและโรคเหงือกอับเสบ การรับรู้โอกาสเสี่ยง ของการเกิดโรคฟันผุและโรคเหงือกอับเสบ ความคาดหวังในความ สามารถของตนเองต่อการป้องกันการเกิดโรคฟันผุและโรคเหงือก อับเสบความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อ พฤติกรรมในการป้องกันการเกิดโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ และการปฏิบัติตัวในการป้องกันการเกิดโรคฟันผุและโรคเหงือก อักเสบสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางมีสถิติ (p-value<0.001) คะแนนเฉลี่ยของปริมาณคราบจุลินทรีย์และสภาวะเหงือกอ'กเสบในกลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อน การทดลองและลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคญทางสถิติ (p-value<0.001)
References
2. ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลโนนสัง. สรุปผลการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กวัยเรียน ปี 2556. ม.ป.ท.;2556.
3. Ronald W. Roger. A Protection Motivation theory of Fear Appeals and Attitude Change. Journal of Psychology 1975; 91(Suppl):93-114.
4. House and J.S..The association of Social relationship and activities with mortality: Community health study. American Journal Epidemiology 1981;3(7):25-30.
5. กิตติศักดิ์ มูลละ และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ช่องปากเพื่อการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารทันตาภิบาล วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น 2555;23(1):42-50.
6. สุขปราณี นรารมย์ และนิรมล เมืองโสม. การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินในตำบลหนองตูม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการโรงพยาบาลมหาสารคาม 2552;6(2):43-53.
7. จุฬาภรณ์ โสตะ. แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. 2554. ขอนแก่น: ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
8. วัลภา โบราณมูล และรุจิรา ดวงสงค์. ประสิทธิผลของการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวที่เหมาะสมในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2551;16(3).
9. เยาวดี มาพูนธนะ และรุจิรา ดวงสงค์. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่องป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2554;11(4):77-88.
10. นลินี มุ่งสมัคร และจุฬาภรณ์ โสตะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของแกนนำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี 2554;19(2):335-345.
11. Blinkhorn A.S., Christine Wight, and Ann Yardley. Report of two dental health programs for adolescents in the Lothian Region of Scotland. Journal of Dentistry 1987;15(5):213-217.
12. รวิฎา ทับทิมใส และรุจิรา ดวงสงค์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนที่เป็นโรคเหงือกอักเสบ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2552;17(2):77-8.
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล