ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของผู้ปกครองเพื่อป้องกันการเกิดโรคฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียน ตำบลอี่หล่ำ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • กฤติยา โนนใหญ่ นิสิตปริญญาโทสาขาการจัดการระบบสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • นิรุวรรณ เทรินโบล์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
  • ประวิ อ่ำพันธ์ุ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, แรงสนับสนุนทางสังคม, การเสริมพลังอำนาจ, โรคฟันผุ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองโดยมีความมุ่งหมายเพื่อ ศึกษา ผลของประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรง สนับสนุนทางสังคมต่อการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการ เกิดโรคฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลอี่หล่ำ อำเภอ อุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ปกครองเด็กก่อน วัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 66 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 33 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 33 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ ประกอบด้วย การบรรยายประกอบสไลด์ วีดีทัศน์ ภาพ พลิก โปสเตอร์ ตัวแบบ การสาธิตและการ ฝึกปฏิบัติ และได้รับแรงสนับสนุน ในการกระตุ้นเตือนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครูผู้ดูแลเด็กและเพื่อน ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการให้ทันตสุขศึกษาตามปกติ ดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือน มกราคม - มีนาคม 2555 เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการ ทดลองโดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึกค่าปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และสถิติเชิงอนุมานใช้ Paired sample t-test และ Independent sample t-test

          ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องโรค ฟันผุ มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ การรับรู้ความรุนแรงของการ เกิดโรคฟันผุ การรับรู้ประโยชน์ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคฟันผุสูงกว่า ก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 (p-value < 0.001) การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกัน โรคฟันผุ และปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ของกลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อนการ ทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value < 0.001) จากการจัดโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพของผู้ปกครองเพื่อป้องกันการเกิดโรคฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียนทำให้ ผู้ปกครองเอาใจใส่ดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลานและมีการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันโรคฟันผุในทางที่ดีขึ้น

          โดยสรุป ผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมส่งผลให้ ผู้ปกครองมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกัน โรคฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียนได้ จึงสามารถนำไปประยุกต์ ใช้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพื้นที่อื่นๆหรือประยุกต์ใช้กับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพหรือปัญหาสาธารณ สุขด้านอื่นๆ

References

1. กมลทิพย์ สุขสันติสกุลชัย และคณะ. เอกสารประกอบการสอนวิชาทันตกรรมป้องกันและปริทันตวิทยา. ขอนแก่น:ภาควิชาทันตาภิบาล วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น;2543.

2. รายงานผลการสำรวจสภาวะช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2549-2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2551.

3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. สรุปผลการประเมินงานทันตสาธารณสุข จังหวัดศรีสะเกษประจำปี พ.ศ. 2552. ศรีสะเกษ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ;2553.

4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอี่หล่ำ. รายงานการตรวจสภาวะช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลอี่หล่ำ พ.ศ.2553-2554. อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ: สำนักงาน;2554.

5. House, J. S. Work stress and social support. Reading, MA: Addison-Wesley;1981

6. สุกัญญา แซ่ลี้. การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนประถมศึกษา ตำบลนาข่า อำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ ส.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2551.

7. สุวนิตย์ ธรรมสาร. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทันตสุขภาพของผู้ปกครองเด็ก 3-4 ปีเพื่อป้องกันโรคฟันผุโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคและแรงสนันสนุนทางสังคม อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขมหาบัญฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2552.

8. ปรียานุช เพียยุระ. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ปกครองต่อการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2550.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)