แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสาธารณสุขที่ 10
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, การปฏิบัติงาน, เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสาธารณสุขที่ 10 เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 130 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และ สัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากบุคลากรสาธารณสุขที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 12 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 17 ธันวาคม 2555 ถึง 10 มกราคม 2556 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป แจกแจงข้อมูลด้วย ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการ ศึกษาพบว่า แรงจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับการ ปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.416, p-value < 0.001) และแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขได้แก่ ปัจจัยค้ำจุนด้านความมั่นคงในการ ปฏิบัติงาน ปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบและปัจจัยจูงใจด้านการยอมรับ นับถือตามลำดับ ซึ่งตัวแปรอิสระทั้งสามตัว สามารถร่วมกันพยากรณ์การ ปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล เขตสาธารณสุขที่ 10 ได้ร้อยละ 37.7 ปัญหาอุปสรรคที่พบส่วนใหญ่ คือ ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะของงานรองลงมาคือ ปัจจัยจูงใจด้านความรับ ผิดชอบ
References
2. สำนักงานโครงการสนับสนุนนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กระทรวงสาธารณสุข. ความเป็นมาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล. [ออนไลน์] 2552. [อ้างเมื่อ 4 พฤษภาคม 2555] จาก http://hph.moph.go.th/?modules=Content&action=history
3. สุณี วงศ์คงคาเทพ และคณะ. แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุขสำหรับทันตบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลและศูนย์สุขภาพชุมชน. นนทบุรี: กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย;2552.
4. Hertzberg, F., Mausner, B. & Snyderman, B.B. The motivation to work, New Brunswisk, NJ: Transaction Pub;2010.
5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ. สถานบริการจังหวัดบึงกาฬ ปีงบประมาณ 2555. บึงกาฬ: สำนักงาน;2555.
6. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย. ข้อมูลการผลิตทันตาภิบาลเพื่อ รพ.สต.แนวใหม่. เลย: สำนักงาน;2555.
7. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. จำนวนบุคลากรสาธารณสุข ปี 2555. หนองคาย: สำนักงาน;2555.
8. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. การจัดสรรโควตาเพื่อเข้าศึกษาหลักสูตร ปวส.ทันตสาธารณสุข ประจำปีการศึกษา 2555 - 2556. หนองบัวลำภู: สำนักงาน;2555.
9. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. ข้อมูลกำลังคนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล. อุดรธานี: สำนักงาน;2555.
10. อุไรวรรณ อมรไชย. การบริหารจัดการและร่วมผลิตทันตาภิบาลจากท้องถิ่นโดยเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ชุมชน และวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร: กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2550;10(2):130-140.
11. สุณี วงศ์คงคาเทพ. การทบทวนสถานการณ์ด้านกำลังทันตบุคลากรการจัดบริการสุขภาพช่องปากของประเทศไทย. นนทบุรี: กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข;2549.
12. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. การวิจัยการวัดและประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์;2543.
13. สุวัฒน์ ศิริแก่นทราย. การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของเจ้าพนักงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลชุมชน เขตสาธารณสุขที่ 12. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2555.
14. มัลลิกา เทพอ่อน. แรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะหลักของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล เขตสาธารณสุข 11. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2554.
15. จิริสุดา บัวผัน ประจักร บัวผัน และพรทิพย์ คำพอ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตาม สมรรถนะหลักของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน เขตสาธารณสุขที่ 12.วารสารวิจัย มข. 2554;16(6):679–692.
16. วิราภรณ์ รวิยะวงศ์ และประจักร บัวผัน. การดำเนินงานทันตสาธารณสุขของบุคลาการ สาธารณสุขในสถานีอนามัย จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัย มข. 2552; 9(3): 42–50.
17. ธารนา ธงชัย. แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านบริการเภสัชกรรมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดหนองคาย. การศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2552.
18. คุณากร สุวรรณพันธุ์ และประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขระดับตำบล ในจังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัย มข. ฉบับบัณฑิตศึกษา 2550; 7(4): 58–70.
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล