การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากและพัฒนานวัตกรรม การดูแลสุขภาพช่องปากของชมรมผู้สูงอายุ บ้านหนองหิน ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ปิยะนุช เอกก้านตรง ทันตแพทย์ชำนาญการ ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น
  • บังอร กล่ำสุวรรณ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

สุขภาพช่องปาก, นวัตกรรม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อศึกษา ผลการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ช่องปากด้วยตนเองของชมรมผู้สูงอายุ บ้านหนองหิน ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยมุ่งเน้นการ พัฒนาศักยภาพและจัดการเรียนรู้แก่แกนนำผู้สูงอายุ ให้มีส่วนร่วมในการวางแผน ปฏิบัติการ ติดตามประเมินผล และเรียนรู้จากการปฏิบัติ จนนำไปสู่ การปรับปรุงหรือพัฒนากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ ใช้ระยะเวลาในการศึกษาจากเดือนตุลาคม 2550 - กันยายน 2551 เก็บข้อมูล โดยศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมี ส่วนร่วม และการตรวจสุขภาพช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

          1. แกนนำผู้สูงอายุสามารถดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ได้ตามแผนคือ การตรวจสุขภาพช่องปากและให้คำแนะนำแก้ผู้สูงอายุตามครัวเรือน นอกจากนี้ในระหว่างดำเนินการ ยังได้พัฒนากิจกรรมขึ้นตามปัญหา และความต้องการของผู้สูงอายุ ได้แก่ การส่งต่อผู้สูงอายุที่ไม่มีฟัน เข้าโครงการฟันเทียมพระราชทาน การให้ความรู้ทางหอกระจายข่าว จัดตั้งกองทุนแปรงสีฟันยาสีฟันสำหรับผู้สูงอายุ และการออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ รวมทั้งได้พัฒนานวตกรรมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ช่องปากด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เพลงส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยใช้ดนตรีพื้นบ้านอีสาน

          2. ความคิดเห็นของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการดำเนินงานของแกนนำ ผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 98.0 ได้รับความรู้จากแกนนำ โดยเรื่องที่ได้ รับความรู้มากที่สุดได้แก่ การแปรงฟัน การใช้ไม้จิ้มฟัน และการดูแลฟันเทียม ร้อยละ 74.1, 20.7 และ 17.2 ตามลำดับ ส่วนผลที่ได้รับจากการดำเนิน งานของแกนนำ ผู้สูงอายุเห็นว่าตนเองมีความรู้เพิ่มขึ้นและใส่ใจในการดูแล สุขภาพช่องปากมากขึ้นเท่ากันคือ ร้อยละ 90.0 และได้รับบริการสุขภาพ ช่องปากมากขึ้น 86.0

          3. ผลการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก จากการประเมินโดยแกนนำผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากดีขึ้น คือ มีการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง แปรงฟันก่อนนอน ทุกวัน แปรงฟันถูกวิธี และใช้แปรงสีฟันขนนุ่มเพิ่มขึ้น ส่วนในรายที่ใส่ฟันเทียมพบว่า มีการถอดฟันเทียม ทำความสะอาดหลังรับประทานอาหาร และถอดฟัน เทียมแช่น้ำก่อนนอนเพิ่มขึ้น สำหรับสภาวะช่องปาก ของผู้สูงอายุ จากการประเมินโดยแกนนำผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสภาวะช่องปากดีขึ้น มีปัญหา ในช่องปากลดลง สภาวะฟันผุ ฟันโยก และการมีหินปูน ลดลง และจากการประเมินโดยผู้ศึกษาเปรียบเทียบกับผลการศึกษาในปีงบประมาณ 2550 พบว่า ผู้สูงอายุมี ปัญหาในช่องปากลดลงจากร้อยละ 56.9 เป็นร้อยละ 39.7 สภาวะเหงือกอักเสบและมีหินปูน ลดลงจาก ร้อยละ 80.8 เป็นร้อยละ 62.1 การมีฟันโยกลดลงจากร้อย ละ 26.9 เป็นร้อยละ 19.0 ส่วนสภาวะฟันผุลดลงเพียง เล็กน้อย จากร้อยละ 51.9 เป็นร้อยละ 51.7

References

1. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการ สำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประเทศไทย พ.ศ. 2549-2550. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2551.

2. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. สรุปรายงานรูป แบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยชมรมผู้สูงอายุ กรณีศึกษาในพื้นที่ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมาและศูนย์อนามัย ที่ 10 เชียงใหม่. (เอกสารอัดสำเนา);2550.

3. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น;2535.

4. สมจิต แดนสีแก้ว, อารี พรหมโม้ & เปรื่องจิตร ฆารรัศมี. การพัฒนาความสามารถในการดูแล ตนเองและการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในชนบท จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2540.

5. วิไลวรรณ ทองเจริญ, ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์ & สมจินต์ เพชรพันธุ์ศรี. ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารมหาวิทยาลัยมหิดล 2539;3(3):10-13.

6. สมจินต์ เพชรพันธุ์ศรี, พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร & วัฒนา พันธ์ศักดิ์. การส่งเสริมสุขภาพการป้องกันอุบัติเหตุ และ การฟื้นฟูสภาพในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์;2545.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)