ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุ ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ในเขตรับผิดชอบสถานีอนามัยตำบลโนนข่า อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ความรู้, ทัศนคติ, ฟันผุ, พฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้ ทัศนคติ และ พฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุ รวมถึงเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุ ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียน โนนข่าวิทยา ตำบลโนนข่า อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น จำนวน 152 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด สถิติเชิงอนุมาน (การหาความสัมพันธ์) ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.60 อายุ 14 ปี ร้อยละ 31.60 อาชีพหลักของผู้ปกครองนักเรียนมีอาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 33.50 ได้รับเงินมาโรงเรียนเฉลี่ย 35.14 บาท/วัน ใช้จ่ายเป็นค่าอาหารกลางวันเฉลี่ย 15.13 บาท/วัน ใช้จ่ายค่าขนมเฉลี่ย 10.33 บาท/วัน จำนวนครั้งในการซื้อขนมเฉลี่ย 1.61 ครั้ง ความรู้เกี่ยวกับ การป้องกันโรคฟันผุ พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ52.00 ข้อความรู้ที่ตอบถูกมากที่สุดคือ วิธีที่ดีที่สุดในการทำความ สะอาดฟัน คือ การแปรงฟันอย่างถูกวิธี ร้อยละ 94.70 ส่วนข้อความรู้ที่ ตอบถูกน้อยที่สุด คือ ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของฟลูออไรด์ คือ ลดอาการเสียวฟัน ร้อยละ 30.30 ด้านทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคฟัน ผุ พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 64.50 รองลงมาคือ มีทัศนคติอยู่ในระดับดี ร้อยละ 35.50 ไม่มีนักเรียนที่อยู่ระดับ ทัศนคติไม่ดี คะแนนสูงสุดเท่ากับ 2.75 คะแนนต่ำสุดเท่ากับ 1.94 คะแนน เฉลี่ยเท่ากับ 2.29 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.17 ด้านพฤติ กรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรคฟันผุ พบว่าพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 67.80 รองลงมาคือ มีพฤติกรรมอยู่ในระดับ ดี ร้อยละ 30.30 และมีพฤติกรรมในระดับไม่ดี ร้อยละ 2.00 คะแนน เฉลี่ยเท่ากับ 2.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.26 และด้านพฤติกรรม การบริโภคอาหาร พบว่านักเรียนส่วนใหญ่รับประทานขนมถุง ขนม กรุบกรอบสำเร็จรูปทุกวัน ร้อยละ 30.30 รองลงมาดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลม ทุกวัน ร้อยละ 19.70 และน้อยที่สุดคือรับประทานขนมหวานต่าง ๆ เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง และผักผลไม้สดรสไม่หวาน เช่น ฝรั่ง มันแกวทุกวัน
References
2. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ผลสํารวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6. [ออนไลน์] 2550 [อ้างเมื่อ 20 มกราคม 2553] จาก https://dental.anamai.moph.go.th /fluoride/survey/tendency.html.
3. ทวีชัย สายทอง. ปัจจัยที่มีผลต่อ พฤติกรรม การป้องกันโรคฟันผุของนักเรียน ประถม ศึกษาปีที่ 5 และ 6 ตําบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2551.
4. งานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ขอนแก่น. รายงานทันตสาธารณสุขตามกลุ่ม อายุ ปี 2551.ขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา);2544.
5. งานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลพล. ระเบียน รายงาน 400/ขก. ขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา);2551.
6. องอาจ ชาญเชาว์. (ตารางสําหรับพิจารณา ขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie, R.V., and Morgan, D.W.) อ้างเมื่อ 14.37น. วันที่ 14 ม.ค. 2553 จาก https://www.drmanage.com index. php?lay= show&ac= article&Id =538640555
7. พรรณี เลาวะเกียรติ. การเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหารว่างของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีฟันผุและไม่มีฟันผุ โรงเรียน เทศบาลสวนสนุก อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ (ส.ม.) สาขาวิชาโภชนาการชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2545.
8. อาภา ศันสนียวาณิช. สภาวะฟันผุและพฤติกรรม สุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนกลุ่มอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2543;5(1):20-30.
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล