ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงสนับสนุน ทางสังคมของนักเรียนต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคเหงือกอักเสบในนักเรียนประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านยานาง ตำบลเพ็กใหญ่ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
แรงสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมป้องกันโรคเหงือกอักเสบบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการลดลงของโรค เหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนบ้านยานาง ตำบลเพ็กใหญ่ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่นกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรม ทันตสุขศึกษาประกอบด้วยการบรรยาย สาธิต และการฝึกปฏิบัติร่วมกับการ ให้แรงสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร ทรัพยากรและด้านอารมณ์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับกิจกรรมการสอนตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการทดลอง ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 7 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยด้วยสถิติ Pair t-test และ Independent sample t-test
ภายหลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองส่วนใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยความ รู้โรคเหงือกอักเสบสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)และพบว่ากลุ่มทดลองที่ได้รับแรงสนับ สนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร ทรัพยากร และอารมณ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) นอกจากนั้นยังพบว่า การได้รับแรง สนับสนุนทางสังคมไม่มีผลต่อการลดลงของสภาวะเหงือกอักเสบอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05)
References
2. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 บริษัทสามเจริญพานิช.กรุงเทพฯ: กองทันตสาธารณสุข;2545.
3. กิตติยา เรียงทา. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการแปรงฟันเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบในนักเรียนชั้นประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น วิทยานิพนธ์ปริญญาสาขาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2543.
4. อรพินท์ วันศิริสุข และอารีรัตน์ บุญยัง. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. รายงานการวิจัย;2551.
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล