ความปลอดภัยและสมรรถนะของแปรงสีฟันสองชนิด

ผู้แต่ง

  • วงศ์วฤณ พิชัยลักษณ์ ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

gingival abrasion, multi-level, plaque, toothbrush

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้ เพื่อที่จะทดสอบสมรรถนะ (efficacy) และความปลอดภัยของแปรงสีฟันที่มีการออกแบบใหม่ให้มี ขนแปรงหลายระดับ (Profit-Haije-Brush) เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมซึ่ง ได้แก่แปรงสีฟันหน้าตัดเรียบจากทันตแพทยสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกา (American Dental Association: ADA)

          วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างจำนวน 36 รายที่มีสุขภาพดี ไม่ เคยใช้แปรงสีฟัน Profit-Haije-Brush (PHB) มาก่อน โดยให้กลุ่มตัวอย่างดัง กล่าวได้ใช้แปรงสีฟันทั้งสองชนิดเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์เพื่อให้เกิดความคุ้น เคยในการใช้งาน และทำการสอนวิธีการแปรงที่ถูกต้อง โดยให้ใช้ระยะเวลา ในการแปรงฟัน 2 นาทีทุกๆ วัน อย่างสม่ำเสมอ กลุ่มตัวอย่างจะต้องไม่ ทำความสะอาดช่องปากเป็นเวลา 48 ชั่วโมง ก่อนมารับการทดสอบ โดยก่อน เริ่มจะได้รับการประเมินค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ (plaque index: PI) และ คะแนนการถลอกของเหงือก จากนั้น จะทำการสุ่มเลือกบริเวณในช่องปาก 2 quadrant ฝั่งตรงกันข้ามกัน ให้ใช้แปรงสีฟันต่างชนิดกันในแต่ละบริเวณ และ ต้องมีการควบคุมให้แปรงเป็นระยะเวลา 2 นาที หลังจากแปรงแล้วจะได้รับ การประเมินค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์และคะแนนการถลอกของเหงือกซ้ำอีกครั้ง กลุ่มตัวอย่างจะต้องเขียนตอบคำถามเพื่อประเมินทัศนคติต่อแปรงสีฟันทั้ง สองชนิด

           ผลการทดลอง : ค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์เฉลี่ยที่วัดได้ในกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้แปรงสีฟัน PHB เท่ากับ 2.47 ในขณะที่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้แปรงสีฟันจาก ADA มีค่าเท่ากับ 2.44 ระดับการลดลงของค่า PI ในสองกลุ่มมีค่าเท่ากับ 1.32 และ 1.23 ตามลำดับ (p<0.05) เมื่อดูที่ค่าการถลอกของเหงือกเฉลี่ยที่ วัดก่อนแปรงฟันในกลุ่มตัวอย่างที่ใช้แปรงสีฟัน PHB เท่ากับ 4.57 และกลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้แปรงสีฟันจาก ADA มีค่าเท่ากับ 5.34 ในขณะที่ค่าการถลอก ของเหงือกเฉลี่ยที่วัดหลังแปรงฟันในกลุ่มตัวอย่างที่ใช้แปรงสีฟัน PHB เท่ากับ 13.49 และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้แปรงสีฟันจาก ADA มีค่าเท่ากับ 13.77

         สรุปผลการทดลอง : ในทางสถิติพบว่า แปรงสีฟัน PHB ที่มีการออกแบบให้มีขนแปรงหลาย ระดับนั้น มีสมรรถนะที่ดีกว่าแปรงสีฟันหน้าตัดเรียบ ของ ADA แต่อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างในทาง คลินิกนั้น มีน้อยมาก ซึ่งไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ ระหว่างแปรงทั้งสองชนิด และยังพบว่า ไม่สามารถทำให้ช่องปากเกิดเหงือกถลอกเป็นแผลได้

References

NAM Rosema MF, PA Versteeg, WH van Palenstein Helderman, U van der Velden and GA van der Weijden Safety and efficacy of two manual tooth brushes. International Journal of Oral Hygiene 2010;8(4):280-5.

Downloads