ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติตัว ของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ในสถานบริการสาธารณสุข พื้นที่จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • เทพไทย โชติชัย และคณะ สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, พฤติกรรมการปฏิบัติตัว, ผู้ป่วยวัณโรคปอด, สถานบริการสาธารณสุข

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระบบบริการคลินิกวัณโรคของสถานบริการสาธารณสุขและปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่ลง ทะเบียนรักษาในสถานบริการสาธารณสุข ในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการศึกษาในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่มีผลการตรวจเสมหะบวก ที่ขึ้นทะเบียนการรักษาในสถานบริการสาธารณสุข ในเขตจังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน 2552 จำนวน 172 ราย เก็บรวบรวม ข้อมูลจำแนกตามเครือข่ายการบริการ (CUP) โดยการสุ่มตัวอย่างแบบมี ระบบชนิดวงกลม (Circular Systematic Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้ 1) แบบประเมินระบบบริการ และ 2) แบบสอบถามปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย โดยแบบสอบถามทั้งชุดมีค่า ความเที่ยง(Reliability) เท่ากับ 0.75 วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติ Eta และ Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient

          ผลการศึกษา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ ปฏิบัติตัวของผู้ป่วยวัณโรคปอด พบว่า ปัจจัยนำด้านเพศ สถานภาพสมรส และความรู้เกี่ยวกับวัณโรคปอด ปัจจัยเอื้อด้านความสะดวกในการรับบริการ และความเหมาะสมของจำนวนเม็ดยาที่รับประทานในแต่ละครั้ง มีความ สัมพันธ์กับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยวัณโรคปอด อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (P-value < 0.05) โดยพบว่าไม่มีปัจจัยเสริมด้านใดที่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยวัณโรคปอด

References

1. กองทุนสนับสนุนการวิจัย. รูปแบบการบริการคัดกรองโรควัณโรคในประเทศไทย. กรุงเทพฯ;2550.

2. เจริญ ชูโชติถาวร. What you should know about tuberculosis in ambulatory medicine[electronic resource]. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย;2550.

3. จรรยา แซ่เจน และ ยุทธิชัย เกษตรเจริญ. Management of tuberculosis: modified WHO modules of managing tuberculosis at district level: work. กรุงเทพฯ: กองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวง สาธารณสุข;2550.

4. บุญเชิด กลัดพ่วง และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอด. กรุงเทพฯ: รายงาน การวิจัย; 2538.

5. จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ทาง เพศสัมพันธ์ของนักศึกษาหญิงระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล;2538.

6. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. สรุปรายงานประจำปีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: โรงพิมพ์เพ็นพริ้นติ้ง;2552

7. Lwanga and Lemeshow. Sample size determination in health studies: a practical manual. Geneva: World Health Organization;1991.

8. Cochran,W.G. Sampling Technique. 3rd ed. Canada: John Wiley & Sons;1977.

9. ยุพา ถาวรพิทักษ์. (ม.ป.ป.). การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจทางด้านอนามัย. ขอนแก่น : ภาควิชาชีวสถิติและ ประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

10. ชรินทร์ คูคู่สมุทรและอำนวย มณีศรีวงค์กูล. การศึกษาเปรียบเทียบการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ 3 วิธี:การสุ่ม ตัวอย่างแบบมีระบบชนิดวงกลม, ชนิดใหม่, ชนิดสองเส้น. ขอนแก่น: ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2540.

11. ประภาเพ็ญ สุวรรณ. พฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพและสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล;2537.

12. ผกายเพชร นาสมยนต์. การป้องกันวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรคปอดในจังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น;2549.

13. ทิพวรรณ ฉัตรวิริยะเจริญ. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการปฏิบัติตามแผนการรักษาของผู้ป่วย วัณโรคปอดกับผลการรักษาด้วยระบบยาระยะสั้นแบบมีพี่เลี้ยง จังหวัดสุรินทร์.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น;2546.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)