ความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติส่วนบุคคลและการทำงานเป็นทีม ในระหว่างฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม 2 (โครงการพัฒนาสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วม) กับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน) รุ่นที่ 77
คำสำคัญ:
ความสัมพันธ์, คุณสมบัติส่วนบุคคล, การทำงานเป็นทีม, ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติส่วนบุคคลและการทำงานเป็นทีม ในระหว่างฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม2 (โครงการพัฒนาสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วม) กับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์(สาธารณสุขชุมชน) รุ่นที่77 ปีการศึกษา 2551 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น จำนวน 108 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และแบบทดสอบ ความเที่ยง (Reliability) ของแบบสอบถาม(สภาพการทำงานเป็นทีม) โดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน (Spearman Rank correlation coefficient) และ Chi-square test
ผลวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนสภาพการทำงานเป็นทีม ด้านบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงาน ในประเด็นเกี่ยวกับ อาจารย์นิเทศและและด้านสถานที่ฝึกปฏิบัติงานและชุมชน มีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับ มากที่สุด (= 4.21, sd=0.88, และ = 4.32, sd=0.95 ตามลำดับ) และสภาพการทำงานเป็นทีม ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (= 4.16, sd=0.80) ระดับความสามารถในการคิดวิจารณญาณ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 58.33 รองลงมาอยู่ในระดับดี ร้อยละ 37.96 และในระดับปรับปรุง ร้อยละ 2.78 รายได้(ต่อเดือน)มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.234; p value=0.015) ส่วนผลสัมฤทธิ์ของการศึกษา(GPA) อายุของนักศึกษา และการทำงานเป็นทีม กับ ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.102; p value=0.292, r=0.054; p value=0.592, r=0.170;p value=0.078 ตามลำดับ) ความสัมพันธ์ของเพศ และ ประสบการณ์ในการทำงานด้านสาธารณสุขก่อนเข้าศึกษา กับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ( p=0.550 และ p=0.561 ตามลำดับ)
References
2. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. ประมวลรายวิชาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์(สาธารณสุขชุมชน) ฉบับปรับปรุง 2550. สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ขอนแก่น: ม.ป.พ ;2550.
3. อรพรรณ บุญลือธวัชชัย. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ.: การเรียนการสอนทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส แอนด์ กราฟฟิค จำกัด;2543.
4. Guice, E.D., 1992. The Effect of Instruction Concept Analysis on Critical Thinking Skill and Moral Reasoning Decision of Senior Baccalaureate Nursing Student. (online) แหล่งhttp://www.ntlf.com/html/lib/umi/92-93c.htm (22/05/2553)
5. ศุภวรรณ ตรีสรานุวัฒนา และคณะ. ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล นครราชสีมา. นครราชสีมา: ม.ป.พ ;2550.
6.สมเกียรติ สุทธรัตน์. ความสามารถในกาคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม ปีการศึกษา 2546. นครพนม: ม.ป.พ ;2546.
7. เสาวภา เด็ดขาด. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการเรียนรู้และระบบการเรียนและการจัดการเรียนการสอนกับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่4 วิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล;2539.
8. จันทนา กวีนัฏธยานนท์ และคณะ. การศึกษาสภาพการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาฝึกปฏิบัติงานภาคสนามร่วม 3 หลักสูตร. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. ม.ป.พ ;2548.
9. ไพศาล สุวรรณน้อย, สันติ วิจักขณาลัญฉ์ และวิภาดา วัฒนนามกุล. การจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น ;2546.
10.สุวพิชชา ประสิทธิธัญกิจ. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2548.ม.ค.-เม.ย.;8 (1):102-117.
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล