ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาการระบาด กับคะแนนทักษะการสอบสวนโรคติดต่อที่เฝ้าระวัง ทางวิทยาการ ระบาด ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน) ปีการศึกษา 2553 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • เบญญาภา กาลเขว้า วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • สุทธาทิพย์ ชายผา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, การสอบสวนโรค, วิทยาการระบาด, ผลสัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ใช้รูปแบบการศึกษาสหสัมพันธ์ (Correlation study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาการระบาด คะแนนทักษะการสอบสวนโรคติดต่อ ที่เฝ้าระวังทางวิทยาการระบาด และหาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์วิชา วิทยาการระบาด กับคะแนนทักษะการสอบสวนโรคติดต่อที่เฝ้าระวังทางวิทยา การระบาด ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุข ศาสตร์(สาธารณสุขชุมชน) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น รุ่นที่ 79 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 101 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบ ถาม (Questionnaires) และแบบทดสอบ (Test) หาความเที่ยง (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด สูงสุด ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ( Spearman Rank correlation coefficient: rs) ได้ผลวิจัยดังนี้

พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.27 มีอายุเฉลี่ย 23.85ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.45 ; มัธยฐาน เท่ากับ 21 ปี) อายุ ต่ำสุด 20 ปี อายุสูงสุด 47 ปี เกรดเฉลี่ยการศึกษาในชั้นปีที่2 เท่ากับ 3.45 คะแนนทักษะการสอบสวนโรคติดต่อที่เฝ้าระวังทางวิทยาการระบาดที่ให้โดย อาจารย์พี่เลี้ยง และคะแนนรวมทักษะการสอบสวนโรคติดต่อที่เฝ้าระวังทาง วิทยาการระบาด กับ ผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาการระบาด มีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs= 0.32 ; p value=0.001 และ rs= 0.30 ; p value=0.002 ตามลำดับ) ส่วนตัวแปรคะแนนทักษะ การสอบสวนโรคติดต่อที่เฝ้าระวังทางวิทยาการระบาดโดยอาจารย์นิเทศกับผลสัมฤทธิ์วิชาวิทยาการระบาด มีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับต่ำ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (rs= 0.15 ; p value=0.138)

การเปรียบเทียบความแตกต่างค่ามัธยฐานของ คะแนนทักษะการสอบสวนโรคติดต่อที่เฝ้าระวังทางวิทยา การระบาดโดยอาจารย์นิเทศ และอาจารย์พี่เลี้ยงเป็นผู้ให้ คะแนน พบว่า อาจารย์พี่เลี้ยง ให้คะแนนสูงกว่าอาจารย์ นิเทศ เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ค่ามัธยฐานของคะแนน ทักษะการสอบสวนโรคติดต่อที่เฝ้าระวังทางวิทยาการ ระบาด มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ( z= 1.028 , p=0.303) ค่ามัธยฐาน ของคะแนนทักษะ การสอบสวนโรคติดต่อที่เฝ้าระวังทางวิทยาการระบาด ของนักศึกษาชายและหญิง มีความแตกต่างกันอย่างไม่ มีนัยสำคัญทางสถิติ ( z= 0.919 , p=0.358) ค่ามัธยฐาน ของคะแนนทักษะการสอบสวนโรคติดต่อที่เฝ้าระวังทาง วิทยาการระบาดของนักศึกษาที่มีสถานะเป็นบุคคลทั่วไป และนักศึกษาที่มีสถานะเป็น อสม.หรือลูกจ้าง ก่อนเข้า ศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ( z= 1.051 , p=0.310) ระดับทักษะการสอบสวนโรคทาง วิทยาการระบาด พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ มีระดับทักษะ การสอบสวนในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 66.34 รองลงมา อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 27.72

 

The relationship between Epidemiological Achievement and Epidemiological Investigation Skill of 79th Community Public Health Students for Community Field Work. Sirindhorn College of Public Health, Khon Kaen, 2010.

A Correlation descriptive research was conducted to study the Achievement of Epidemiological subject, Epidemiological Investigator skill score and relationship between the achievement of Epidemiology subject and Epidemiological Investigator skill score of 79th community public health students for community , Sirindhorn College of Public Health, Khon Kaen, 2010.

There were 110 samples who were collected by using questionnaires and testing.g Standardized internal item reliability using Cronbach’s alpha coefficient was 0.90. Data analysis were performed by using descriptive statistics include frequency, percentage, mean, standard deviation, median and investigated relationship by using Spearman Rank correlation coefficient (rs)

The results were revealed that the most sample were female about 73.27 percent, an average age was 23.85 years (sd= 6.45, median= 21.00 , minimum and maximum were 20, 47, respectively ), The Grade point average (GPA) of 2nd year were 3.45. The relationship between Mentor’s score , total score of Epidemiological Investigator skill and Achievement of Epidemiology subject was positive and moderate level which were statistically significant (rs =0.32; p value=0.001, rs =0.30; p value=0.002 respectively) . but supervisor’ s score of Epidemiological Investigator skill and Achievement of Epidemiology subject was positive and low level relationship which were statistically insignificant (rs =0.15; p value=0.138)

To compare a median score different between Mentor’s and supervisor of Epidemiological Investigator skill were revealed that were insignificant ( z= 1.028 , p=0.303), a median score different of Epidemiological Investigator skill between male and female were insignificant ( z= 0.919 , p=0.358). The former status of sample before registered who were general and volunteer-employee were found that a median score different of Epidemiological Investigator skill were insignificant ( z= 1.051 , p=0.310). About 66.34 percent of sample were high level of Epidemiological Investigator skill, and 27.72 percent was moderate level.

 

References

1. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น.. คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา. สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ขอนแก่น: ม.ป.พ ; 2550.

2. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. ประมวลรายวิชาหลักสูตรประกาศนียบัติวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์(สาธารณสุขชุมชน) ฉบับปรับปรุง 2550. สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ขอนแก่น: ม.ป.พ.;2550.

3. ปฐมพร โพธิ์ถาวร และ ศรีสุดา สว่างสาลี . ผลการจัดการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. วิทยาลัยการพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา;2550.

4. อรัญญา ศรีสุนาครัว และ อโนชา ศิลาลัย. การประเมินผลการฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม(ทันตสาธารณสุข) ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) รุ่นที่ 26. ขอนแก่น: เพ็ญพรินติ๊ง จำกัด;2550.

5. ศิริภา คงศรี และ อรวรรณ นามมนตรี. การประเมินผลการฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม(ทันตสาธารณสุข) ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) รุ่นที่ 24. ขอนแก่น: เพ็ญพรินติ๊ จำกัด;2547.

6. อรพินทร์ ชูชม และ อัจฉรา สุขารมณ์. องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของนักเรียนวัยรุ่น. รายงานการวิจัยฉบับที่48. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2532.

7. สุทธิพร คล้ายเมืองปัก. บทบาทครูกับรูปแบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไป. วารสารวิชาการ 2543.3(2 )ก.พ.;54-67.

8. Slavin,R.E. Educational Psychology Theory and Practice. 6th ed.USA; Pearson Education,Inc.;2006.

9. ปฐมพร โพธิ์ถาวร, ภูรียา เพ็ญสุวรรณ และ ศรีสุดา สว่างสาลี . ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคในการเรียนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญกับผลการเรียนวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์1 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่2 ปีการศึกษา 2545. สงขลา: วิทยาลัยการพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา;2546.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)