การจัดการความปวดที่บริเวณช่องปากและใบหน้า

ผู้แต่ง

  • ฑีฆายุ พลางกูร จอร์นส คลินิกบำบัดความปวดที่ช่องปากและใบหน้า ภาควิชาชีววิทยาช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

คำสำคัญ:

อาการปวดบริเวณช่องปากและใบหน้า, อาการปวดกล้ามเนื้อบดเคี้ยว, อาการปวดจากความผิดปกติที่เส้นประสาทไทรเจมินัล

บทคัดย่อ

          อาการปวดบริเวณช่องปากและใบหน้าเป็นหนึ่งในความปวดของร่าง กายที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและจิตใจของผู้ป่วยไม่น้อย โดยเฉพาะ กรณีความปวดเรื้อรัง การบำบัดรักษาในรายที่ซับซ้อนควรเริ่มจากวิธีอนุรักษ์ ก่อนและจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างสาขาเพื่อดูแลผู้ป่วยเป็น องค์รวม ความยากของการจัดการผู้ป่วยในกลุ่มนี้คือ ความสับสนในการ วินิจฉัยโรคปวดบริเวณช่องปากและใบหน้าได้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการแสดง เฉพาะในช่องปาก โดยลักษณะอาการปวดนั้นคล้ายคลึงกับอาการปวดฟัน ที่เกิดจากการมีพยาธิสภาพจากโพรงประสาทฟัน เป็นอย่างมาก อาจส่ง ผลให้มีการรักษาที่ผิดพลาดหรือไม่จำเป็นตามมาได้ เช่น การถอนฟัน การ รักษารากฟัน หรือการได้รับยาโดยไม่จำเป็น ดังนั้นผู้ให้บริการทางการแพทย์ ควรทราบถึงข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างการปวดฟันจากโรคปวดจากสาเหตุ อื่นๆ และปวดจากโรคจากฟัน เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดจากการวินิจฉัยและรักษา

References

1. de Leeuw R, editor. The American Academy of Orofacial pain. Orofacial Pain: Guidelines for Assessment, Diagnosis, and Management. 4Th edition. Chicago: Quintessence Publishing;2008.

2. Dworkin SF and LeResche L, editors. Research Diagnostic Criteria for Temporomandibular Disorders: Review, criteria, examinations and specifications, critique. J Craniomandib Disord 1992;6:301-355.

3. Sidebottom AJ. Current thinking in temporomandibular joint management. Br J Oral Maxillofac Surg 2009;47(2):91-4.

4. Jorns TP, Zakrzewska JM. Evidence-based approach to the medical management of trigeminal neuralgia. Br J Neurosurg 2007;21(3):253-61.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความปริทัศน์ (Review article)