ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กโดย ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลโพนทอง อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
การเรียนรู้ทางสังคม, การสนับสนุนทางสังคม, การดูแลสุขภาพช่องปากบทคัดย่อ
เด็กก่อนวัยเรียนมีปัญหาสุขภาพช่องปาก โดยพบว่า เด็กก่อนวัยเรียน เป็นโรคฟันผุ ร้อยละ 60-80 ดังนั้นการดูแลสุขภาพช่องปากเป็นส่วนสำคัญ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน ในการเปลี่ยนแปลงความรู้ การรับรู้ในความสามารถของตนเอง ความคาด หวังในผลลัพธ์ และการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโพนทอง ตำบลโพนทอง อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัด หนองคาย กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 34 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 34 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยข้อมูล เชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่มด้วย สถิติเชิงอนุมาน คือ Paired sample t-test และระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Independent sample t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการดูแล สุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน การรับความสามารถของตนเองในการดูแล สุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการดูแล สุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน การปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กก่อนวัยเรียน การสนับสนุน กระตุ้นเตือนและการให้กำลังใจในการดูแล สุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนมากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่ม เปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01) กลุ่มทดลองมีค่า เฉลี่ยคะแนนปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ลดลงมากกว่าก่อนการทดลองและ ลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01)
References
2.ขวัญดาว พันธุ์หมุด. ศึกษาผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2549.
3. จุฬาภรณ์ โสตะ. กลยุทธ์การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ขอนแก่น:ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2546.
4. เวณิการ์ หล่าสระเกษ. ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการฝึกผู้นำนักเรียนในการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและการ ส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2552.
5. วัลภา โบราณมูล.ผลของการ ประยุกต์ใช้ทฤษฏีแรงจูงใจเพื่อ ป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทาง สังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคขนมเคี้ยวที่เหมาะสมในนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. จังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2551.
6. ปรียานุช เพียยุระ. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ปกครองต่อการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัย เรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเป้า ตำบลบ้านไผ่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2550.
7. เปรมฤดี ศรีสังข์. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมของต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุ ในนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดกลาง เทศบาลนครขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2550.
8. สุวนิตย์ ธรรมสาร. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทันตสุขภาพของผู้ปกครองเด็ก 3-4 ปี โดยการประยุกต์ทฤษฎี แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรง สนับสนุนทางสังคม อำเภอประทุมราชวงศา จังหวัดอำนาญเจริญ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุข ศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา และพฤติกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2552.
9. สุปรียา ตันตกุล. ทฤษฏีและโมเดลการะประยุกต์ใช้ในงานสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล;2546.
10. สถานีอนามัยโพนทอง.(2554).รายงานการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ ปี 2554.หนองคาย:สถานีอนามัยโพนทอง.(เอกสารอัดสำเนา)
11. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย.(2554).รายงานการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ ปี 2554. หนองคาย:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย.(เอกสารอัดสำเนา)
12. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพธิ์ตาก.(2554).รายงานการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ ปี 2554. หนองคาย:สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพธิ์ตาก.(เอกสารอัดสำเนา)
13. Cobb,S. Social Support as a Moderator of life Stress. Psychosomatic Medicine.38(Sptember-October),300-314;1976.
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล