ผลของโปรแกรมการส่งเสริมผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านคำแก่นคูณ ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • เครือวัลย์ นิตย์คำหาญ มหาบัณฑิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่ง เสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รุจิรา ดวงสงค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค, การส่งเสริมทันตสุขภาพ, การดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก

บทคัดย่อ

          เด็กมีปัญหาทันตสุขภาพจำนวนมาก คือ ฟันผุถึงร้อยละ 60-90 และ โรคเหงือกอักเสบรุนแรงทำให้เกิดการสูญเสียฟัน และเสียค่าใช้จ่ายในการ รักษาสูง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนา เด็กเล็กบ้านคำแก่นคูณ ตำบลม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษา ประกอบด้วยกิจกรรม การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก โดยการบรรยาย ประกอบวีดีทัศน์ สื่อสไลด์ ภาพพลิก แบบจำลองฟัน การใช้ตัวแบบ การอภิปรายกลุ่ม การสาธิตและการฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธี มีการ แจกคู่มือให้ความรู้และบันทึกการแปรงฟันเด็กก่อนวัยเรียน ระยะเวลาดำเนิน การ 11 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามการวิเคราะห์ ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ย คะแนนภายในกลุ่มวิเคราะห์ด้วยสถิติ Paired Sample t-test และระหว่าง กลุ่ม ใช้สถิติ Independent Sample t-test กำหนดระดับค่าความเชื่อมั่น 95% กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลองก ลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนด้านความรู้ การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาส เสี่ยง การรับรู้ความสามารถของตน ความคาดหวังในผลลัพธ์ ความตั้งใจ และการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กสูงขึ้นและสูงกว่ากลุ่ม เปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการตรวจปริมาณ แผ่นคราบจุลินทรีย์ พบว่า หลังการทดลองเด็กก่อนวัยเรียนในกลุ่มทดลองมี ปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ลดลงและลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

1. จันทนา อึ้งชูศักดิ์. สุขภาพช่องปาก. [ออนไลน์] 2532 [อ้างเมื่อ 25 มิถุนายน 2554] จาก http://www.doctor.or.th/node/4496.

2. จันทนา อึ้งชูศักดิ์. ฟันผุในเด็กไทย. [ออนไลน์] 2547 [อ้างเมื่อ 25 มิถุนายน 2554] จาก http://www.doctor.or.th/node/1888.

3. World Health organization [WHO] [homepage on the Internet]. Oral Health Online Resources, Inc.:c2011 [cited 2011 June 20]. Available from : http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs318/en/index.html.

4. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ พ.ศ. 2549-2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2551.

5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. รายงานผลสำรวจสภาวะช่องปากตามกลุ่มอายุ ปี 2553 จังหวัดขอนแก่น. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.];2553.

6. Boer, Seydel [homepage on the Internet]. Protection motivation theory Online Resources, Inc.:c1996 [cited 2011 August 14th]. Available from : http://www.utwente.nl/cw/.

7. House, J. S. Work Stress and Social Support. California: Addison Wesley Publishing;1981.

8. Bloom Benjamin, S. Taxonomy of Education objectives, Hand book1: Cognitive Domain. New York: David Mckay;1971.

9. รัชนีวรรณ แก้วโพนเพ็ก. ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษาโดยการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดี ในเด็กประถมศึกษา ตำบลทรายทอง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2552.

10. ปฏิพล คำขวา. ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค และการสนับสนุนทางสังคม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมารดาหรือผู้ดูแล เพื่อป้องกันโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุ 0 – 5 ปี อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2549.

11. จุฬาภรณ์ โสตะ. แนวคิดทฤษฎีและการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2552.

12. พึงพิศ โตอ่อน. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2553.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)