การศึกษาทัศนคติต่อการเรียนวิชาทันตกรรมป้องกันเพื่อปรับปรุง พัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอน
คำสำคัญ:
ทัศนคติ, ทันตกรรมป้องกันบทคัดย่อ
วิชาทันตกรรมป้องกันเป็นพื้นฐานทางวิชาชีพ มีความสำคัญที่ผู้เรียน ต้องนำไปใช้และพัฒนาจนเกิดทักษะด้านการส่งเสริมป้องกันทางทันต สุขภาพซึ่งเป็นหนึ่งในสมรรถนะหลักของบัณฑิต พบปัญหาส่วนใหญ่ที่ ทำให้นักศึกษาไม่สำเร็จการศึกษาตรงตามเวลา เกิดจากไม่สามารถทำงาน ด้านทันตกรรมป้องกันให้สัมฤทธิ์ผลตามเวลาที่กำหนด ผู้วิจัยได้ศึกษา ทัศนคติต่อการเรียนวิชาทันตกรรมป้องกันเพื่อปรับปรุง พัฒนาประสิทธิ ภาพการเรียนการสอน จากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์(ทันตสาธารณสุข) วิทยาลัยการสาธารณสุข สิรินธร จังหวัดขอนแก่น จำนวน 65 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบ รวม ข้อมูล ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูล ในชั่วโมงแรกของการชี้แจงการเรียนการสอน อธิบายรายวิชาและวิธีการวัดประเมินผลวิชาทันตกรรมป้องกัน ผลการ ศึกษาพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีทัศนคติว่า เนื้อหามีจำนวนมากเข้าใจยาก และ ไม่สามารถจดจำได้ เป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 61.54 อันดับสอง มีทัศนคติว่า เป็นเรื่องความเคยชินในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว สื่อการเรียน รูปแบบเดิมๆ น่าเบื่อหน่าย ไม่ทันสมัย ไม่สะดวกต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ 24.61 มีเพียงร้อยละ 13.85 ที่มีทัศนคติที่อยากเรียนรู้ กระตือ รือร้นที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งจากการฟังบรรยายและจากสื่อใน รูปแบบใหม่ๆ ผู้วิจัยได้นำผลการวิจัยที่ได้ไปปรับปรุงแนวทางการเรียนการ สอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนมีความทันสมัย อำนวยความสะดวกแก่การ เรียนรู้ นอกจากนี้ยังใช้เป็นแนวทางพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุขให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อสร้างนักปฏิบัติการคุณภาพสูงด้านทันตสาธารณสุข ตามพันธกิจของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ที่ ตอบสนองแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติต่อไป
References
2. ประลม ไชยสาร. เจตคติและความต้องการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่มีต่อการจัดบริการนักศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2542. 125 หน้า. (วพ 102946)
3. พรามร ศรีปาลวิทย์. การเรียนรู้การปรับทัศนคติและพฤติกรรมในเด็กกลุ่มเสี่ยงกระทำผิดซ้ำ กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนบ้านสายใจ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545. 128 หน้า. (วพ 126954)
4. ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์. การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในการส่งเสริมอนามัยช่องปาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2541. 241 หน้า. (วพ 94504)
5. ธีรวุฒิ เอกะกุล. การวัดเจตคติ. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. อุบลราชธานี: วิทยาออฟเซทการพิมพ์;2550.
6. วรยา มณีลังกาและคณะ.การสำรวจพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของผู้ปกครอง กรณีศึกษา สถานรับเลี้ยงและพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัย การสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น (ม.ป.ท.);2554.
7. วิศิษฏ์ วณิชย์สุวรรณ์. ทัศนคติของนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ต่อพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2544. 91 หน้า. (ว 131041)
8. สุดารัตน์ ควรสถาพรทวี. พฤติกรรมของคนไข้ในการเสาะแสวงหาสารสนเทศเพื่อรับบริการด้านทันตสุขภาพและทันตสุขศึกษาจากทันตแพทย์ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 . 2 แผ่น (95 เฟรม). (วพ MF15875)
9. ศิริวรรณ ศรีวิชัย. ผลการใช้กิจกรรมกลุ่มที่มีต่อเจตคติที่พึงประสงค์ต่อยาเสพติดให้โทษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2542. 100 หน้า. (วพ 100223)
10. Pollack and Masters, 1997. Using internet technologies to enhance training. Performance improvement 1997;36(2): 28-31.
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล